ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

คาลิลและครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ในจังหวัดฮอมส์ทางตะวันตกของซีเรีย ที่เคยกลายเป็นสถานที่ที่เกิดการปะทะกันทุกวันในปี 2011 พวกเขาออกจากบ้านเกิดเมื่อคาลิลอายุได้หกขวบ

คาลิลอายุเพียงหกขวบเมื่อตอนที่เขาจำต้องจากซีเรียมา ซึ่งในขณะนั้นมีการสู้รบปะทะกันเกิดขึ้นทุกวัน ขณะที่สงครามกลางเมืองกำลังทวีความรุนแรงขึ้นจนถึงจุดสูงสุด

เขาอาศัยอยู่ในจังหวัดฮอมส์ ทางตะวันตกของซีเรียกับพ่อที่เป็นคนขับแท็กซี่ แม่ และน้องสาวสองคน

ฮอมส์ เมืองใหญ่อันดับสามของซีเรีย มีประชากร 1.5 ล้านคนก่อนที่จะเกิดความขัดแย้ง กลายเป็นสมรภูมิหลักในการลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด หลังจากที่ประชาชนในเมืองนี้ยอมรับการเรียกร้องให้โค่นล้มนายอัสซาด ในต้นปี 2011

“หมู่บ้านของผมอยู่ระหว่างภูเขาสองลูก และมีการปะทะกันทุกคืน” คาลิลเล่าให้ฟังโดยย้อนนึกถึงเหตุการณ์ตอนนั้น

“ผมเห็นไฟและแสงวายจากปลายลำกล้องของปืนตอนที่ทหารและกบฏยิงใส่กัน ผมกลัวมาก”

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

ฮอมส์ เมืองใหญ่อันดับสามของซีเรีย กลายเป็นสมรภูมิหลักในการลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด

ในช่วงปลายปี 2015 กองกำลังกบฏได้ถอนกำลังออกจากจังหวัดฮอมส์ หลังจากรัฐบาลกลับเข้ามายึดครองพื้นที่ได้

ในช่วงการลุกฮือ มีผู้คนหลายหมื่นคนถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมาย ‘ต่อต้านการก่อการร้าย’ ซึ่งทำให้กิจกรรมต่อต้านอย่างสงบแทบทั้งหมดกลายเป็นอาชญากรรม อิบราฮิมพ่อของคาลิล ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกจับกุม

“รัฐบาลจับพ่อของผมเข้าคุก เมื่อเขาออกมา เรา (ในฐานะครอบครัว) ต้องผ่านอะไรมามากมาย ดังนั้นเราจึงตัดสินใจเดินทางออกจากซีเรีย” คาลิลกล่าว

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางยาวนานนับทศวรรษในฐานะเด็กผู้ลี้ภัยของเขา

ก้าวแรกสู่ 'เลบานอน'

ตั้งแต่ความขัดแย้งในซีเรียปะทุขึ้น มีผู้คนจำนวน 12 ล้านคนต้องพลัดถิ่น โดยมีประชากรมากกว่า 6 ล้านคนที่ออกจากประเทศ

คาดว่าชาวซีเรียจำนวน 1.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเลบานอน ซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 5.3 ล้านคน ทำให้เลบานอนเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้ลี้ภัยสูงที่สุดในโลก

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

สำหรับครอบครัวของคาลิล เลบานอนเป็นจุดแรกที่พวกเขาเดินทางถึง พวกเขาอาศัยอยู่ที่บ้านของเพื่อนชาวซีเรียเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจเดินทางต่อ เพราะพวกเขาคิดว่าไม่มีอนาคตสำหรับพวกเขาที่นั่น

ครอบครัวคาลิลเดินทางต่อไปยังตุรกีอย่างถูกกฎหมายโดยเครื่องบิน

นับตั้งแต่ที่ซีเรียเริ่มมีสงครามกลางเมือง รัฐบาลตุรกีก็ดำเนินนโยบายโอบรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมาตลอดจนตอนนี้มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 3.6 ล้านคน ทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดมากที่สุดในโลก

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

นับแต่ความขัดแย้งปะทุขึ้น มีประชาชนที่ต้องทิ้งบ้านเกิดตัวเองมากกว่า 6 ล้านคน ในจำนวนนี้ ผู้คนหลายพันคนเลือกเส้นทางที่อันตรายผ่านการข้ามทะเลอีเจียนไปยังหมู่เกาะกรีซ

คาลิลและครอบครัวตั้งรกรากในนครอิสตันบูล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของตุรกีและมีชาวซีเรียกว่า 500,000 คนจากประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน

พวกเขาอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 ปี แต่พบว่าการปรับตัวเข้ากับสังคมนั้นยากมาก ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนท้องถิ่นและผู้ลี้ภัย

“ในอิสตันบูล เด็ก [ตุรกี] จะเข้ามาหาผมแล้วถามว่า ‘ทำไมไม่กลับไปซีเรีย?’ ผมต้องเผชิญกับปัญหามากมาย แต่ผมคิดว่า ถ้าแค่ร้องไห้กับมันทุกอย่างก็จะไม่เปลี่ยนแปลง ผมต้องสู้ต่อไปกับชีวิตของผม”

พอมาถึงช่วงกลางปี 2019 เริ่มมีรายงานว่าตุรกีได้ส่งชาวซีเรียหลายร้อยคนกลับประเทศของตนโดยไม่สมัครใจ รัฐบาลตุรกีปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ในเวลานั้น

ด้วยความกลัวว่าครอบครัวของคาลิลจะเจอเหตุการณ์แบบเดียวกัน พวกเขาจึงตัดสินใจย้ายออก พวกเขาเดินทางไปยังเมืองชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองโบดรัมเพื่อเริ่มการเดินทางข้ามทะเลอีเจียนไปยังกรีซ

พวกเขาใช้ความพยายามสามครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในความพยายามครั้งที่สี่ที่เขาเดินทางบนเรือที่บรรทุกคนประมาณ 50 คน คาลิลและครอบครัวสามารถก้าวเท้าขึ้นเกาะคอสของกรีซได้

“พวกเราคิดว่าเราฝันไป เรามีความสุข ปลอดภัย และขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งนั้น ‘เราชนะแล้ว’ เราคิด” คาลิลกล่าว “ตอนนี้เราสามารถสร้างอนาคตของเราได้”

"ลูก แน่ใจใช่ไหม ?"

ทว่า 'ความฝัน' นั้นไม่ยืนยาวนัก ในปี 2020 มีรายงานว่า ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยถูกขับออกจากน่านน้ำกรีซกลับไปยังตุรกี

องค์กรสิทธิมนุษยชนวิจารณ์รัฐบาลกรีกเรื่องการปฏิบัติที่ไม่ดีต่อผู้ขอลี้ภัย ในขณะนั้น เจ้าหน้าที่กรีซปฏิเสธว่า ไม่ได้ปฏิบัติไม่ดีต่อผู้อพยพ

อิบราฮิมกลัวว่า ครอบครัวของเขาจะต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกัน คาลิลจึงเสนอให้เขาแยกจากครอบครัวและเดินทางไปยุโรปตามลำพัง

“ตอนแรกพ่อบอกว่าไม่ แต่หลังจากคิดอยู่พักหนึ่ง เขาถามผมว่า ‘ลูก แน่ใจแล้วใช่ไหม ?’ ผมตอบว่า ‘แน่ใจครับ’ พ่อจึงพูดว่า ‘โอเค ลูกจะไปเร็ว ๆ นี้ เตรียมตัวให้พร้อม’”

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

“มันหนาวมาก คุณจินตนาการไม่ออกเลย ขอพระเจ้าคุ้มครองให้เราข้ามแม่น้ำไปได้ แต่เราจะหนาวจนแข็ง” คาลิลกล่าวไว้ในหนึ่งในบันทึกที่เขาทำขณะพยายามข้ามไปยังฮังการี

ในเดือน ต.ค. 2020 ขณะที่อายุได้ 13 ปี คาลิลออกเดินทางไปแอลเบเนียโดยทิ้งครอบครัวไว้ข้างหลัง พร้อมกับกลุ่มผู้ลี้ภัยคนอื่น ๆ

พวกเขาเดินทางไกลกว่า 165 กิโลเมตร ทั้งปืนขึ้นภูเขาและข้ามแม่น้ำ โดยไม่มีอาหาร มีเพียงทูน่าและช็อกโกแลตเล็กน้อยเพื่อเพิ่มพลังงาน

กลุ่มผู้ลี้ภัยแน่ใจว่า เตรียมเสบียงน้ำและถุงนอนสำหรับการเดินทาง พวกเขาถ่ายวิดีโอการเดินทางที่ท้าทายของพวกเขาด้วยโทรศัพท์เป็นระยะ ๆ และพูดคุยหยอกล้อเพื่อรักษาขวัญและกำลังใจ

พวกเขาจะเก็บความทรงจำเหล่านี้ไว้แบ่งปันกับครอบครัวเมื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

คาดว่ามีผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนใช้เส้นทางที่เรียกว่า "เส้นทางบอลข่าน" เพื่อมุ่งหน้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2015

หลังจากสองสัปดาห์บนเส้นทางนั้น พวกเขามาถึงกรุงพริสตีนา เมืองหลวงของคอซอวอ แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไปต่อ พวกเขาก็เริ่มเดินทางอีกครั้ง มุ่งหน้าไปยังประเทศเซอร์เบียที่อยู่ใกล้เคียง

ในเดือน พ.ย. 2020 คาลิลมาถึงกรุงเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย “ผมไม่ไหวแล้ว ผมเหนื่อยมาก” เขากล่าวขณะถ่ายวิดีโอตัวเองตอนตีห้า ด้วยกล้องมือถือ นี่เป็นหนึ่งในโปสการ์ดเสมือนจริงที่จะส่งไปถึงครอบครัวในไม่ช้า

ความพยายามหลายครั้ง

ในตอนท้าย คาลิลต้องการที่จะเดินทางต่อไปยังฝั่งตะวันตกของเซอร์เบีย เพื่อเดินทางไปออสเตรียหรือเนเธอร์แลนด์

เขาพยายามข้ามพรมแดนไปยังสหภาพยุโรปอยู่หลายครั้ง อย่างเช่น ใช้ความพยายามถึง 11 ครั้งเพื่อข้ามไปฮังการี, 3 ครั้งเพื่อข้ามไปโครเอเชีย และอีกหนึ่งครั้งเพื่อข้ามไปโรมาเนีย แต่ความพยายามทุกครั้งก็ล้มเหลว

หลังจากเวลาผ่านไปราวสี่เดือนของความพยายาม เขาเริ่มมีปัญหาสุขภาพจากการเดินทางไกลด้วยการเดินเท้าในสภาพอากาศสุดขั้วซึ่งทำให้เขาไม่สามารถเดินทางแบบนี้ต่อไปได้อีก ในที่สุดเขาก็ต้องล้มเลิกความคิดและยอมลงหลักปักฐานในกรุงเบลเกรด

มีการคาดการณ์ว่า มีผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนใช้เส้นทางที่เรียกว่า "เส้นทางบอลข่าน" เพื่อมุ่งหน้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2015

สภาผู้ลี้ภัยและผู้ถูกเนรเทศแห่งยุโรป (ECRE) ระบุว่า ทุกปีมีผู้ลี้ภัยหลายพันคนที่ต้องเผชิญกับการผลักดันกลับประเทศบ้านเกิด ความรุนแรง และการคุกคามโดยผู้ลักลอบหรือเจ้าหน้าที่ความมั่นคงและหน่วยรักษาชายแดน ขณะที่ต้องอยู่อาศัยในสภาพที่ไร้มนุษยธรรมพร้อมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

คาลิลฉลองวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 17 ปี ของเขากับเพื่อน ๆ ในกรุงเบลเกรด ด้วยการปิ้งย่างไก่บาร์บีคิวกัน

"ผมไม่รู้สึกว่าเบลเกรดเป็นเมืองของผม แต่ผมก็มีความสุขมาก ๆ ที่นี่" คาลิล ที่ตอนนี้อายุ 17 ปี กล่าวกับบีบีซี แผนกภาษาเซอร์เบีย

เมืองหลวงของเซอร์เบียเป็นบ้านหลังใหม่ของคาลิลมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ณ เมืองนี้ เขาเริ่มไปโรงเรียน เรียนภาษาอังกฤษและเซอร์เบีย และทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

คาลิลชอบวาดรูปตอนที่เขามีเวลาว่าง หนึ่งในภาพวาดของเขาถูกแปะอยู่ที่ฝาผนังในห้องนอน มันเป็นรูปที่มีอักษรตัวแรกของชื่อแม่เขาผสมรวมเข้ากับรูปหัวใจ

"นี่คือห้องพักของผม ส่วนนี่คือภาพวาดของผม ผมชอบวาดรูปในเวลาว่าง" เขากล่าว พร้อมกับโชว์ผลงานของตัวเองที่ติดไว้รอบ ๆ ที่พักไม่ใหญ่โต ที่ Jessuit Refugee Service ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยในเซอร์เบียจัดหาให้เขา

ภาพวาดถูกแปะไว้บนผนัง หนึ่งในภาพวาดเหล่านี้มีภาพที่เป็นอักษรตัวแรกของชื่อแม่ของเขาผสานรวมเข้ากับรูปหัวใจ อีกภาพหนึ่งเป็นภาพของเด็กผู้หญิงที่มีปีกราวกับนางฟ้าผู้ที่กำลังบินจากทะเลไปยังท้องฟ้า

"เด็กหญิงคนนั้นโดดเดี่ยว และนั่นเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกตอนนั้น ผมต้องการแสดงมันออกมา" คาลิลเล่า

"ผมเหนื่อยมาก ๆ หลังจากทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกรีซ แอลเบเนีย คอซอวอ... ผมมาที่นี่และ "ขอบคุณพระเจ้าที่ผมได้พักบ้าง" ผมคิดอย่างนั้น ชีวิตของผมลงตัวแล้ว ผมสามารถนอนหลับ และไปโรงเรียนได้"

การเดินทางขาสุดท้ายเพื่อกลับมารวมกันอีกครั้งกับครอบครัว

ตอนที่คาลิลอยู่ในเซอร์เบีย พ่อและน้องสาวทั้งสองคนของเขายังคงอยู่ที่กรีซ ส่วนแม่ของเขานั้นสามารถเดินทางมายังเนเธอร์แลนด์ในฐานะผู้ลี้ภัยได้สำเร็จ

ในเดือน ก.ย. 2023 ครอบครัวของเขาได้รับอนุญาตให้กลับมาพบกันได้ และภายในเวลาไม่กี่เดือน คาลิลก็ได้มาเจอพวกเขาที่เนเธอร์แลนด์ เขาไม่ได้เจอกับบุคคลที่เขารักเป็นเวลาถึง 4 ปี ตอนนี้ ทุกคนได้รับสถานะผู้ลี้ภัย

ตามรอย 11 ปี บนเส้นทางหนีภัยสงครามของเด็กชาวซีเรีย ก่อนลงหลักปักฐานที่ยุโรป

คาลิลและครอบครัวได้เจอกันอีกครั้งที่เนเธอร์แลนด์ หลังจากต้องแยกจากกันถึงสี่ปี พวกเขาถ่ายรูปนี้ด้วยกันเมื่อเดือน ธ.ค. 2023

ตอนนี้คาลิลหวังว่า เขาจะเข้ารับศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปีหน้า และศึกษาในสาขาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

"ผมอยากจะมีเพื่อนใหม่ ๆ และใช้ชีวิตอย่างสงบกับครอบครัวของผม และอยู่ให้ห่างไกลจากสงคราม" เขากล่าว

"ประสบการณ์ชีวิตของผมสอนให้ผมเชื่อในตัวเอง และเป็นคนเข้มแข็งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ผมต้องการ"

OTHER NEWS

2 hrs ago

แม่หมู พิมพ์ผกา สุดทน สั่งทนายดำเนินคดี เอาผิดให้ถึงที่สุด คอมเมนต์มโนสู่รู้

2 hrs ago

5 แข้งดาวรุ่งแจ้งเกิดหลังจบรอบแบ่งกลุ่มศึกยูโร 2024

3 hrs ago

บิ๊กโจ๊กเปิดศึกชน ลุยฟ้อง "เศรษฐา" มองเป็นแค่วาทกรรม ที่บอกจะให้ความเป็นธรรม

3 hrs ago

ครอบครัว "น้องอลิส" ขอ 15 ล้าน ค่าชีวิต-จมน้ำปริศนา นายก อบต.ชี้มากเกินไป

3 hrs ago

"พลภูมิ" ผู้ช่วย รมต. ลุย "ภูเก็ต" ตรวจระบบรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

3 hrs ago

สปสช.-กอช.จับมือส่งเสริมการออม ดัน ‘แรงงานนอกระบบ’ กว่า 10 ล.มีบำนาญใช้ยามเกษียณ

3 hrs ago

อย่ากังวล! รพ.มงกุฎวัฒนะ จ่อยกเลิกประกันสังคม ยันสัญญาเป็นปีต่อปี!

3 hrs ago

ฮือฮา ‘งูเหลือม' ออกลูก 14 ตัว ทั้งที่ถือพรหมจรรย์ แถมเป็นเพศผู้ เจ้าของอึ้ง ไม่เคยเจอ

3 hrs ago

ลานคนเมืองคึก รอคิวซื้อไข่แพ็คละ 50 บาท จัดให้ 1 แถม 1 งานเกษตร พากิน พาเที่ยว

3 hrs ago

คลิปนาทีคนไทย ถูกกระชากกระเป๋าในปอยเปต ขี่รถประกบ ทำงานเป็นทีม

3 hrs ago

จุน ชิซง ตีแผ่บท "ชายข้ามเพศ" ในภาพยนตร์ 52 Hertz

3 hrs ago

กมลวรรณ หวดดุ วันเดียวชนะ 2 แมทช์ ลิ่วตัดเชือกหวดไอทีเอฟเวิลด์จูเนียร์

3 hrs ago

น้องใหม่ กัลโช่ พร้อมรับช่วงดูแลกองหลัง แมนยู

3 hrs ago

"อังกฤษ" เกมรุกแย่สุดอันดับ 2 รอบแรก ศึกยูโร 2024

3 hrs ago

พ่อค้า แจงดราม่าข้าวไข่เจียว 55 บาท วอนเห็นใจ ต้นทุนแพง แม่ค้าร้านข้างๆเผยความจริงอีกมุม

3 hrs ago

ระทึกกลาง BTS แพรกษา หญิง 40 ปี ประชดชีวิต หวังกระโดดปลิดชีพ

3 hrs ago

ทนายเจมส์ เผยสภาพจิตใจ แม่หมู พิมพ์ผกา ปมถูกโยงข่าว นาย-ใบเฟิร์น (คลิป)

3 hrs ago

แพรวพราว เปิดใจปม ผญบ.ฟินแลนด์ ให้ขายสมบัติแบ่ง แต่ลูกต้องอยู่กับแม่

3 hrs ago

ทันตแพทยสภา แจงเคสหมอฟันเพื่อนบ้านแสบ เผยร้องเมื่อปี’66 แต่ติดคดีเยอะ เร่งพิจารณาจรรยาบรรณ ส.ค.นี้

3 hrs ago

CPN มั่นใจศักยภาพเมืองรอง พร้อมลุย 43 โครงการ ครอบคลุม 20 จังหวัด

3 hrs ago

นักท่องเที่ยวขึ้นดอยผาหมี ดอยผาฮี้ เชียงแสน จิบกาแฟบนบังเกอร์ฐานดอยช้างมูบ

3 hrs ago

คณะทำงานนายกฯ ชี้เปิด Direct PPA ให้เอกชนซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดโดยตรง

3 hrs ago

อตาลันต้า เปิดเจรจา เอฟเวอร์ตัน คว้าตัว “ก๊อดฟรีย์”

3 hrs ago

Sony ยังลุยรีบูต ‘Street Fighter’ ไลฟ์แอ็กชัน แม้ผู้กำกับถอนตัว: ประกาศกำหนดฉาย ปี 2026

3 hrs ago

แนะกรมศิลป์ ใช้ประโยชน์ “โรงละครแห่งชาติภูมิภาค” ให้คุ้มค่า

3 hrs ago

ปากีสถานอ่วม “ดัชนีความร้อน” แตะ 49 องศาฯ สลด 6 วันพบเสียชีวิตพุ่ง 570 ราย

3 hrs ago

“เว็บตูน” จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เปิดซื้อขายหุ้นละ 21 ดอลลาร์

3 hrs ago

‘พปชร.’ ลุยร้อยเอ็ด เปิดเวทีประชารัฐร่วมใจฯ ย้ำอนุรักษ์นิยมทันสมัย-ปกป้องสถาบัน-บริหารศก.ทันสมัย

3 hrs ago

สการ์เล็ต ไวน์ บาร์ แอนด์เรสเตอรองท์ ‘รูฟท็อปบาร์’ หรูหรา พรีเมียม 'ย่านสีลม'

3 hrs ago

โบรกฯหั่นกําไร “หุ้นยานยนต์” สังเวยยอดผลิตรถปี’67 ต่ำสุดรอบ 14 ปี

3 hrs ago

“หมอวรงค์” โต้กลับ หลัง “ทักษิณ” ส่งทนายฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน

3 hrs ago

GULF จับมือ Google เปิดให้บริการ Sovereign Cloud ใช้งาน "เอไอ"

4 hrs ago

สุดท้าย Food Delivery จะเหลือไม่เกิน ‘3 ราย’ แอปฯ ส่งอาหารไทยใกล้จบยุคเผาเงินแล้ว

4 hrs ago

“ไม่อร่อยอย่าหลอกตัวเอง สุดท้ายจะเจ๊ง” โต (อดีต) Silly Fools สู่บทบาทพ่อค้า ‘เนื้อแท้’

4 hrs ago

เปิดประวัติ 2 หญิง ว่าที่ส.ว.โคราช ณัฏฐินีภรณ์ ภรรยาอดีตผู้ว่าฯ-เอมอร ปธ.สภาวัฒนธรรม เข้าวิน

4 hrs ago

เดอ บรอยน์ ตอกกลับหลังโดนโห่ไม่ยอมบุกเกมเจ๊ายูเครน-ชี้ต้องเล่นให้ฉลาด

4 hrs ago

ศาลฎีกาพิพากษายืนประหารชีวิต “บรรยิน” เจตนาฆ่าเสี่ยชูวงษ์

4 hrs ago

เช็กรายชื่อ “วอลเลย์บอลหญิงไทย U20" ลุยศึกชิงแชมป์เอเชีย AVC 2024

4 hrs ago

สลด กระบะข้ามเลนชนประสานงามีผู้เสียชีวิตคาที่ 3 ราย

4 hrs ago

รถแต่งแน่นบูธ! อีซูซุอวด NEW! MU-X ในงาน Bangkok Auto Salon 2024