ไม่ใช่แค่ลิง เมื่อ "สัตว์คุ้ยขยะ" พาเหรดเข้าสู่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก

ตั้งแต่นกกุลา (หรือนกช้อนหอยขาว) ไปจนถึงไฮยีนา สัตว์คุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารมากมายหลากหลายสายพันธุ์ได้รับการดึงดูดเข้าสู่ชีวิตในเมือง บทความนี้จะเล่าถึงวิธีที่พวกมันปรับตัวและดำรงชีวิตได้อย่างดีในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก

บนถนนที่มีชื่อว่า “เคปพอยท์เนเจอร์รีเซิร์ฟ” ซึ่งตั้งอยู่ชานนครเคปทาวน์ ของประเทศแอฟริกาใต้ ผู้คนต้องเผชิญกับแก๊งสัตว์ที่มีพฤติกรรม “ปล้นรถ” เป็นประจำทุกวัน

ผู้กระทำผิดเหล่านี้เต็มไปด้วยความฉาวโฉ่ ผู้คนอาจจะรู้จักพวกมันในเรื่องการงัดแงะรถยนต์เป็นครั้งคราว หรือกลิ่นปากที่เหม็นรุนแรง จริงๆ แล้ว พวกมันคือลิงบาบูนที่ปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนด้วยความกระตือรือร้นอย่างน่าประหลาดใจ เมื่อเข้าไปในเมืองมากขึ้น พวกมันจะรวมตัวกันเป็นฝูง ออกหาอาหารตามถังขยะ หรือแม้กระทั่งบุกรุกบ้านเรือน เพื่อค้นหาอาหารมื้อง่าย ๆ สัตว์คุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารเหล่านี้มีจำนวนมาก จนตอนนี้มีสายด่วนแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนสามารถรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมถึงแจ้งเพื่อขอความช่วยเหลือได้

แน่นอนว่า ลิงบาบูนไม่ใช่สัตว์ป่าชนิดเดียวที่รุกรานเข้ามาอยู่ในพื้นที่เมืองของมนุษย์ สัตว์พื้นเมืองดั้งเดิมของพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นเมืองต่าง ๆ ได้ยืนหยัดบนพื้นที่ของตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก บทความนี้จะนำเสนอบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงอันน่าทึ่งที่เกิดขึ้น

สุนัขจิ้งจอกส่งเสียงได้มากถึง 40 เสียงที่แตกต่างกัน

สุนัขจิ้งจอก

ทุก ๆ คืน เมื่อความมืดปกคลุมเมืองต่าง ๆ ทั่วทวีปยุโรป สุนัขจิ้งจอกสีแดงจะออกจากที่ซ่อนของมัน และเริ่มเดินล่าสัตว์ตามถนนหนทาง บางครั้งมันเดินอย่างมั่นใจไปตามทางร่วมกับมนุษย์ผู้เดินเท้าอย่างกลมกลืน บางครั้ง เราอาจจะเห็นเพียงปลายหางฟู ๆ ของมันขณะที่มันกระโจนลงถังขยะ สัตว์กินเนื้อที่ปรับตัวเก่งเหล่านี้ จะออกหาอาหารป่า เช่น ผลเบอร์รีและแมลง และเสริมสารอาหารด้วยนกพิราบที่เพิ่งจับได้สด ๆ และเศษอาหารที่พบในกองขยะ

มีสุนัขจิ้งจอก “แท้จริง” อย่างน้อย 10 สายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่สุนัขจิ้งจอกเฟนเนก (fennec) หรือสุนัขจิ้งจอกทะเลทราย ที่มีหูคล้ายค้างคาวอันแปลกประหลาด ไปจนถึงสุนัขจิ้งจอกทรายทิเบตที่น่าดึงดูด พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกับผู้คนมาหลายพันปี ในปี 1991 นักวิจัยได้ค้นพบกระดูกโบราณของสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งในอาร์เจนตินา ซึ่งการวิจัยล่าสุดเผยว่ามันอาจเคยเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์

ปัจจุบัน สุนัขจิ้งจอกใช้ชีวิตอยู่ในเขตเมืองได้ดี โดยในกรุงลอนดอน พบว่าประชากรของพวกมันมีความหนาแน่นราว 18 ตัวต่อตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ยังพบเห็นพวกมันได้ในเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ

หมาป่าไคโยตีจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสุนัข

หมาป่าไคโยตี

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หมายป่าโคโยตีกลายเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา สัตว์ป่าจำพวกสุนัขชนิดนี้เป็นสัตว์กินซากที่จะกินทุกอย่างที่หาได้ ไม่ว่าจะเป็น หนู กระต่าย กบ จิ้งจก และเศษอาหารที่คุ้ยเขี่ยมาจากถังขยะของผู้คน

งานวิจัยประจำปี 2022 ที่วิเคราะห์อาหารของไคโยตีในนครนิวยอร์ก พบว่าพวกมันกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น กวางและแรคคูน รวมถึงอาหารของมนุษย์ เช่น ไก่ หมู และเนื้อวัว การกินอาหารได้อย่างหลากหลายทำให้พวกมันปรับตัวใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างยอดเยี่ยม

แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์เตือนว่า การที่โคโยตีกินอาหารขยะอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากโคโยตีในเมืองมักจะมีปรสิตมากกว่า และมีระบบจุลินทรีย์ในลำไส้ (microbiome) ที่ไม่แข็งแรง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเชื่อมโยงกับพฤติกรรมก้าวร้าว

นกนางนวล

หลายต่อหลายครั้ง การเดินเล่นริมทะเลต้องสะดุดลงเพราะนกนางนวลใจกล้าโฉบลงมาขโมยอาหารไป แถบเมืองชายฝั่ง ผู้คนอาจรู้สึกเหมือนนกเหล่านี้เป็นพวกฉวยโอกาสที่โหดร้าย บุกเข้ายึดเมืองเพื่อขโมยอาหารที่ผู้คนเตรียมไว้สำหรับปิกนิก ของย่างบาร์บีคิว หรือแม้กระทั่งของว่างที่ผู้คนถืออยู่ในมืออย่างดี ทว่าความจริงแล้ว พวกเราต่างหากที่รุกรานแหล่งอาศัยของนก ปริมาณปลาที่ลดลงและการสูญเสียแหล่งอาหารตามธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ทำให้นกนางนวลในเมืองต้องออกหาอาหารจากที่อื่น รวมถึงในเมืองและกองขยะ

“เมื่อเวลาผ่านไป พวกมันจะพัฒนากลเม็ดการหาอาหารที่ค่อนข้างชาญฉลาด ซึ่งช่วยให้พวกมันขโมยอาหารจากถังขยะของคุณหรือจากมนุษย์โดยตรง” พอล เกรแฮม จากมหาวิทยาลัยซัสเซกซ์ ในสหราชอาณาจักร บอกกับบีบีซี “ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับพวกมัน”

ครั้งต่อไปที่อาหารของคุณถูกนกนางนวลตัวตะกละแย่งไป ลองพิจารณาว่า เราอาจเป็นฝ่ายแย่งปลามาจากพวกมันก่อนหรือเปล่า

หมูป่าเป็นบรรพบุรูษของหมูสายพันธุ์ที่กลายเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงในปัจจุบัน

หมูป่า

แม้โดยปกติหมูป่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ชอบเก็บตัว แต่เสน่ห์ของชีวิตชานเมืองกำลังดึงดูดให้พวกมันเข้ามาสู่แสงไฟ จากเนินเขาของฮ่องกงไปจนถึงชายหาดของเมืองมาร์เบลลาริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ดินที่หมูป่าคุ้ยเขี่ยดินและขยะใบไม้ ตอนนี้พวกมันคุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารตามกองขยะ ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พวกมันนอนอาบแดดอยู่สระน้ำตื้น ในสเปน หมูป่าคู่หนึ่งแย่งกระเป๋าของ ชากิร่า (Shakira) ป๊อปสตาร์สาวชาวโคลอมเบียไป ไม่ว่าพวกมันจะอยู่ที่ไหน บ่อยครั้งการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือทีมล่าสัตว์ก็มักจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมูป่าจัดเป็นสัตว์ต่างถิ่น พวกมันถูกมองว่าเป็นศัตรูรบกวนน่ารำคาญอีกด้วย ด้วยประชากรที่ประมาณหกล้านตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตอนนี้มีอย่างน้อย 35 มลรัฐที่รายงานตัวเลขประชากรหมูป่า ผลที่ตามมาคือความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรของสหรัฐฯ ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.2 หมื่นล้านบาท) ต่อปี เช่น ถั่วลิสงและข้าวโพดที่เสียหาย

ทว่านี่ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าผลกระทบทั้งหมดจากพวกมันจะเลวร้ายเพียงเพราะว่ามันเป็นสัตว์รุกรานเท่านั้น จริง ๆ แล้วงานวิจัยใหม่กำลังสำรวจว่าวิธีที่หมูป่าใช้จมูกสำหรับการคุ้ยเขี่ยดินและกีบเท้าของพวกมันอาจส่งผลดีต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น โดยพวกมันช่วยลดการครอบงำของพืชชนิดเด่น และอาจเลียนแบบผลกระทบของสัตว์ขนาดใหญ่ในยุคโบราณ

ไฮยีนา

ไฮยีนา มักถูกมองว่าเป็นตัวร้ายฉาวโฉ่ของอาณาจักรสัตว์ แต่สัตว์คุ้ยขยะเหล่านี้ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด ตามการศึกษาในปี 2021 โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน ไฮยีนาสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่สำคัญให้กับเมืองต่าง ๆ ในแอฟริกาที่มันอาศัยอยู่

โดยรวมแล้ว ไฮยีนากำจัดซากสัตว์หนัก 207 ตันต่อปี ในเมืองเมเคเล ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเอธิโอเปีย ทั้งยังช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียของโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) และวัณโรคโคกระบือให้ผู้คนในพื้นที่ได้ราว 5 ราย และป้องกันการติดเชื้อในวัว แกะ และแพะ ได้อีก 140 ตัวต่อปี

ในเมืองฮาราร์ ทางตะวันออกของเอธิโอเปีย สัตว์เหล่านี้ยังกล้าเดินเข้าไปด้านในกำแพงเมืองยามค่ำคืน เพื่อกินเศษอาหารที่คนขายเนื้อทิ้งเอาไว้ ช่องเล็ก ๆ ในกำแพงเมืองซึ่งสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ถูกเรียกว่า “ประตูไฮยีนา” ซึ่งช่วยให้สัตว์เหล่านี้ผ่านเข้าออกได้อย่างอิสระ

ชุมชนรอบนอกเมืองเอธิโอเปียเห็นคุณค่าของไฮยีนา เนื่องจากพวกเขา “เข้าใจบริการด้านสุขาภิบาลที่ไฮยีนามอบให้” ชินเมย โซนาวาเน นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มลรัฐแคลิฟอร์เนีย บอกกับบีบีซีฟิวเจอร์

ในแอฟริกา บางครั้งช้างจำเป็นต้องเข้าไปยังชุมชนมนุษย์เพื่อเดินทางระหว่างพื้นที่ป่าต่าง ๆ

ช้าง

ห่างออกไปจากตัวเมืองคอทวาร์ ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ภาพของสัตว์ที่กำลังคุ้ยเขี่ยกองขยะพบเห็นได้บ่อยครั้ง พวกมันใช้งวงตรวจสอบกลิ่นและหยิบอาหารที่ถูกใจออกมากินเป็นบางครั้ง ทว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่ใช่หนูหรือสุนัขจรจัดที่มาคุ้ยเขี่ยเศษขยะของมนุษย์ พวกมันคือ ช้างเอเชีย หนึ่งในสัตว์บกขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

เมืองคอทวาร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่ราว 45,000 คน โดยนี่เป็นพื้นที่ที่ติดกับป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของช้างเหล่านี้

การที่ชุมชนเมืองขยายตัวเข้าใกล้ป่า ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการหาอาหารของช้างป่าที่ถูกล่อด้วยอาหารจากมนุษย์ การศึกษาหลักฐานภายในมูลช้างที่เก็บได้ในป่าและรอบ ๆ ป่าของรัฐอุตตราขัณฑ์ บ่งชี้ว่าช้างเหล่านี้คุ้ยเขี่ยหาอาหารตามกองขยะของมนุษย์ โดยเฉพาะช้างที่อาศัยอยู่ใกล้เมืองคอทวาร์ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยาวาฮาร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru University) ในกรุงนิวเดลี พบทั้งเศษพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ ถุง ขวดอาหาร และแม้กระทั่งช้อนส้อมพลาสติกใช้แล้ว ในกองมูลช้างทั้งหมดที่เก็บได้บริเวณรอบเมืองคอทวาร์

นิสัยการคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามกองขยะนี้ ยังพบเห็นได้ในช้างเอเชียที่อาศัยอยู่ในศรีลังกาเช่นกัน เนื่องจากกองขยะเป็นแหล่งอาหารที่ง่ายและสะดวกสำหรับสัตว์เหล่านี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาช้างเลี้ยงตามกองขยะทางภาคใต้ของศรีลังกา พบว่าช้างเหล่านี้มี “สภาพร่างกายแข็งแรง” ดีกว่าช้างที่ไม่ได้หากินเศษอาหารจากมนุษย์ ทว่า ก็มีรายงานของช้างที่ตายจากการกินเศษพลาสติกจำนวนมากเข้าไปด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าเมื่อประชากรเมืองขยายตัวไปยังพื้นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างป่า ย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากันระหว่างมนุษย์กับช้าง ซึ่งความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างมักนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายถึงแก่ชีวิตทั้งสองฝ่าย

แร้ง

นับตั้งแต่สมัยโบราณ แร้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของโชคร้ายและเป็นลางบอกเหตุแห่งความตาย แต่นกกินซากเหล่านี้ ซึ่งกินเฉพาะซากสัตว์ที่ตายแล้ว มีบทบาทสำคัญในการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังมนุษย์และสัตว์ป่า รวมถึงป้องกันสารปนเปื้อนไม่ให้รั่วไหลลงสู่สิ่งแวดล้อม

ทว่า แร้งกำลังลดจำนวนลงอย่างน่าเป็นห่วงในเอเชียใต้และแอฟริกา เคยมีเหตุการณ์วางยาแร้งโดยใช้ยาแก้ปวดสำหรับสัตว์ที่ใช้รักษาโรคโดยสัตวแพทย์ ซึ่งมีชื่อว่า “ไดคลอฟีแนค” (diclofenac) ซึ่งแพร่หลายในช่วงปี 1990 และ 2000 ส่งผลให้ประชากรแร้ง 3 สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในอินเดียลดลงถึง 99% ปัจจุบันปัญหานี้ยุติลงแล้วเนื่องจากมีการห้ามใช้ยาชนิดนี้

ในแอฟริกา แร้งจำนวนมากถูกล่าฆ่าด้วยความเชื่อทางศาสนา โดยหัวของมันถูกนำไปขายเป็นเครื่องรางนำโชคหรือบดเป็นผงเพื่อใช้ในยาแผนโบราณ

หมี

ในสหรัฐอเมริกา คุณมีโอกาสถูกผึ้งต่อยตายมากกว่าโดนหมีทำร้ายเสียอีก แต่เหตุการณ์หมีรุกเข้ามาในเขตพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้นกลับกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น คำถามคือ มันเป็นเพราะหมีรุกเข้ามา หรือมนุษย์รุกป่ากันแน่ ?

หมีกริซลีเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันตกของสหรัฐฯ ขณะที่หมีดำ สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ปัจจุบัน มีประชากรหมีกริซลีประมาณ 2,000 ตัว อาศัยอยู่ในพื้นที่เพียง 6% ของถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ส่วนหมีดำราว 300,000 ตัว อาศัยอยู่ใน 50% ของถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม

หมีเป็นสัตว์ที่ฉลาดและอยากรู้อยากเห็น พวกมันมีประสาทรับกลิ่นที่ยอดเยี่ยมและความอยากอาหารมหาศาล ทำให้มันพยายามหาอาหารทุกวิถีทาง

ความขัดแย้งระหว่างหมีกับมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออาหารของมนุษย์ เช่น ขยะ อาหารสุนัข หรือผลไม้ หาได้ง่าย ๆ หมีเคยถูกบันทึกภาพขณะงัดแงะเข้าบ้านเพื่อขโมยอาหาร ตัวอย่างเช่น หมีหนัก 226 กิโลกรัมจอมขโมย ที่ได้ฉายาว่า “แฮงค์ เดอะแทงค์”

แม้การล่าหมีจะยังถูกกฎหมายในบางมลรัฐของสหรัฐฯ แต่หน่วยงานคุ้มครองสัตว์ป่าของรัฐบาลก็กำลังให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับหมีอย่างสันติ

ในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นกกุลาขาวออสเตรเลีย จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยมีจำนวนมากถึง 20,000 ตัว

นกกุลา

นกกุลาขาวออสเตรเลีย มีลำตัวอวบอ้วนสีขาว คอและเท้าเรียวยาวด้วยหนังเนื้อ มักถูกบรรยายว่าสง่างามและมีลักษณะโดดเด่น เมื่อมันอยู่ในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ

แต่ในเมืองต่าง ๆ ของออสเตรเลีย นกชนิดนี้กลับมีภาพจำอีกแบบ นกกุลาขาวออสเตรเลียมักถูกคนท้องถิ่นเรียกด้วยคำแสลงที่ความหมายเป็นลบ อาทิ “ไก่ถังขยะ” (bin chicken) เพราะพวกมันมักอยู่รอบ ๆ โรงบำบัดน้ำเสีย หรือคุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารตามกองขยะ

ถึงแม้ว่าประชาชนในเมืองมักมองว่า นกกุลาขาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นแค่สัตว์รบกวนมากกว่าเป็นสมบัติของชาติ แต่ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า พวกมันอาจทำหน้าที่เป็นแหล่งของความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สำคัญ ซึ่งอาจช่วยฟื้นฟูประชากรนกกุลาขาวตามธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ ได้

ตัวต่อ

ตัวต่อ มักถูกมองว่าเป็นแขกไม่พึงประสงค์ประจำงานปิกนิก พวกมันบินมาวุ่นวายเพื่อกินแซนด์วิชแยม สลัดผลไม้ และอาหารแสนอร่อยอื่น ๆ แต่ความชื่นชอบของหวานของมันอาจถูกกล่าวเกินจริง ตามธรรมชาติแล้ว ตัวต่อจะกินซากศพอย่างมีความสุขไม่แพ้กับผลไม้เน่าเลย

ในพื้นที่ที่ตัวต่อยุโรปเพิ่งเข้าไปอยู่ใหม่ เช่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเกตผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัตว์กินซากอื่น ๆ ได้ การศึกษาในปี 2020 ที่ดำเนินการในออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าตัวต่อจะมาถึงซากศพใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วเพื่อกิน และรังแกแมลงวันชนิดอื่นที่มากินซากร่วมกันอย่างรุนแรง รุนแรงจนแมลงวันวางไข่ไม่ได้ นอกจากนี้ สัตว์กินซากขนาดใหญ่กว่าอย่างหมาป่าดิงโกก็ถูกต่อต่อยด้วย

ยังมีหลักฐานด้วยว่า ตัวต่อกำลังปรับตัวเข้ากับชีวิตในเมืองในระดับพันธุกรรมด้วยเช่นกัน เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การศึกษาล่าสุดชิ้นหนึ่งพบว่า พื้นที่เขตเมืองที่มีอากาศร้อนกว่าและมีพืชพรรณน้อยกว่า มักเป็นที่อยู่อาศัยของต่อตัวเล็กกว่า ซึ่งขนาดที่เล็กกว่านี้อาจเป็นข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการ เนื่องจากลำตัวที่เบาของมันต้องการพลังงานน้อยกว่าในการลอยตัวอยู่ในอากาศ

OTHER NEWS

14 minutes ago

Our Town: Growing Hope: Urban Farming Cultivates Food Security in Acres Homes

14 minutes ago

'Bring us back' | Democrats push Gov. Abbott for special session to deal with school funding crisis

14 minutes ago

City of Conroe issues boil water notice for portion of city

14 minutes ago

'You're really stronger than you think you are' | Aldine ISD student remains valedictorian despite serious senior-year setbacks

14 minutes ago

Indiana judge rules tacos and burritos are Mexican-style sandwiches

14 minutes ago

CEO says Pinterest's growth strategy centers around ‘positivity' not ‘engagement via enragement'

16 minutes ago

ABC News’ David Muir And Linsey Davis To Moderate September Presidential Debate

16 minutes ago

‘Bad Sisters’ Star Anne-Marie Duff Cast In BBC Thriller ‘Reunion’ About A Deaf Man Recently Out Of Prison

17 minutes ago

CHAMPIONS! Brendan Rodgers hails 'incredible' display after Celtic thrash Kilmarnock 5-0 to seal their third straight title having seen off Rangers challenge

17 minutes ago

Wayne Rooney gives ruthless verdict on the state of Manchester United as he urges club to 'get rid' of most of their squad and warns it could take 15 YEARS to win the Champions League again

17 minutes ago

Tyson Fury adopts a southpaw stance and looks in ominous shape as he puts on a show during an open training session - ahead of his huge undisputed heavyweight clash against Oleksandr Usyk

17 minutes ago

Speed boat owner who 'hit and killed' ballerina Ella Adler, 15, is identified as new details of horror crash emerge

17 minutes ago

Map reveals how much of South Dakota Governor Kristi Noem can no longer visit - and why, as another tribe bans her

17 minutes ago

'We all have bad weeks': Trump defends VP contender Kristi Noem over fury for shooting her dog and says she's still 'terrific'

19 minutes ago

The 10 Best Ariana Greenblatt Roles, Ranked

19 minutes ago

Barge slams into Texas bridge and causes an oil spill

19 minutes ago

Nintendo Switch Online Gets Three New Game Boy Games, Including Classic Mario Title

19 minutes ago

PPSSPP brings PSP emulation to the iPhone

19 minutes ago

Jars by Dani Just Launched New Dessert Bites — and There Are Gluten-Free and Vegan Options!

19 minutes ago

"Michael had them all in spades" - Sidney Moncrief on what made Michael Jordan tough to stop

19 minutes ago

Pokemon Fan Fuses Mega Absol and Mega Houndoom

19 minutes ago

Trump’s Jet Clipped a Parked Plane in Florida

19 minutes ago

Today in Politics: PM Modi heads to Maharashtra; Amit Shah, Rahul Gandhi in Odisha

19 minutes ago

A'ja Wilson Shines In Metallic LeBron Sneakers for Las Vegas Aces' Home Opening Game

19 minutes ago

Jury selected in New Jersey Sen. Bob Menendez’s bribery trial

19 minutes ago

Congress's 10 kg ration promise, Pawan Singh vs mother in Karakat, and more

19 minutes ago

Inflation Eases as Core Prices Post Smallest Increase Since 2021

19 minutes ago

New piece in F1 2025 driver puzzle fitted as Max Verstappen drops future hint – F1 news round-up

19 minutes ago

‘This Life of Mine' Review: A Highly Personal and Darkly Amusing Chronicle of Mental Illness

20 minutes ago

New weapon being developed to blast drones out of sky with radio waves, says MoD

20 minutes ago

Indy 500 practice results: Scott McLaughlin has fastest lap in weather-shortened session

20 minutes ago

Erik ten Hag keen to keep Bruno Fernandes as Man Utd star speaks on his future

20 minutes ago

Body clock could determine best time for blood pressure medication, study shows

20 minutes ago

Gordon Brown warns West it must stop forcing African nations to pay off debt over funding vital healthcare

20 minutes ago

New Kansas abortion clinic will open to help meet demand from restrictive neighboring states

20 minutes ago

Starmer’s presidential pitch for Downing Street as Labour’s heir to Blair

20 minutes ago

Manchester United documentary ‘99 is an exquisite hit of nostalgia to distract from club’s present woes

21 minutes ago

Texas university leaders cut hundreds of positions and programs to comply with DEI ban

24 minutes ago

Australian Fashion Week 2024: Jessica Rowe looks like a toilet roll doll as she attends Romance Was Born show

24 minutes ago

Video: Entire desert town goes on the market for staggeringly low sum (but comes with dozens of hidden costs)