แก้รัฐธรรมนูญ 60: ประชามติครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค.-ส.ค.

แก้รัฐธรรมนูญ 60: ประชามติครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค.-ส.ค.

เศรษฐา ทวีสิน แถลงผลการประชุม ครม. เมื่อ 23 เม.ย.

การทำประชามติยกแรกก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ส่อเค้าต้องเลื่อนไปอีก 5-6 เดือน หลังมีการเปิดเผยข้อมูลว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 23 เม.ย. ให้รอการแก้ไขกฎหมายประชามติปี 2564 เสร็จสิ้นก่อน ไม่ได้เริ่ม “นับหนึ่ง” ทันที

วันนี้ (2 พ.ค.) มีการประชุมของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 โดยมีตัวแทนคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ฯ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.), สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึง 2 สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้ริเริ่มเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ต่อสภาผู้แทนราษฎร คือ นายชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ จากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ร่วมหารือด้วย

รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เตรียมเดินหน้าเสนอแก้ไขกฎหมายประชามติ ยกเลิกระบบ “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคาะให้ทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การตัดสินใจดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน

ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าว ณ วันนั้นว่า การทำประชามติครั้งแรกต้องเกิดขึ้นภายใน 90-120 วันนับจากมีมติ ครม. คือ ไม่ก่อน 21 ก.ค. และไม่หลัง 21 ส.ค. โดยใช้งบประมาณ 3,200 ล้านบาท

แก้รัฐธรรมนูญ 60: ประชามติครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค.-ส.ค.

มติ ครม. ให้ “นับหนึ่ง” ประชามติหลังมี กม. ใหม่

ทว่าในวงประชุมที่ สปน. เพื่อหารือเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ในวันนี้ (2 พ.ค.) ปรากฏเอกสารในระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง แจ้งมติ ครม. เมื่อ 23 เม.ย. 2567 โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีเนื้อหา 4 ข้อ แต่สาระสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าการทำประชามติครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นภายในเดือน ส.ค. นี้ปรากฏใน 2 ข้อ

  • ข้อ 2 ให้ สปน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน กกต. พิจารณายกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณา และหากมีร่าง พ.ร.บ. ที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันของ สส. ที่อยู่ระหว่างการบรรจุวาระการประชุมหรือได้รับการบีจุวาระการประชุมสภาแล้ว ก็ให้นำมาประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอต่อ ครม. ต่อไป
  • ข้อ 3 ให้ สปน. ประสานงานกับสำนักงาน กกต. ในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบปรมาณเท่าที่จำเป็น ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ “ทั้งนี้ เมื่อร่าง พ.ร.บ. ตามข้อ 2 ได้มีผลบังคับเป็นกฎหมาย และ ครม. ได้มีมติให้มีการออกเสียงประชามติแล้ว”

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.ก้าวไกล ตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีตัวแทนรัฐบาลที่สื่อสารผิดพลาดเกี่ยวกับการกรอบเวลาในการทำประชามติครั้งแรก โดยบอกว่าจะมีขึ้นปลายเดือน ก.ค. ถึงเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นการตีความว่าเริ่ม “นับหนึ่ง” ตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติ 23 เม.ย. ให้เดินหน้าทำประชามติ แต่จากการตรวจสอบพบว่า มติ ครม. ยังไม่ให้นับหนึ่ง แต่จะนับหนึ่งก็ต่อเมื่อการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ แล้วเสร็จ

“เอกสารประกอบประชุมในวันนี้แสดงให้เห็นว่า การนับหนึ่งจะเกิดขึ้นหลังมีกฎหมายประชามติฉบับใหม่แล้ว ถึงนำเรื่องกลับเข้า ครม. และกำหนดวันออกเสียงประชามติ 90-120 วันนับจากนั้น ผมได้ถามในที่ประชุมวันนี้ว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ก็ได้รับคำยืนยันจากตัวแทนรัฐบาลว่าเข้าใจถูกต้อง ที่ผ่านมา เราไม่เห็นเอกสารเกี่ยวกับมติ ครม. 23 เม.ย. มีแต่โฆษกรัฐบาล กรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางประชามติฯ รวมถึงอินโฟกราฟิคของพรรคเพื่อไทยที่บอกว่าการทำประชามติจะเกิดขึ้น 21 ก.ค.-21 ส.ค. จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลให้ออกมาสื่อสารเกี่ยวกับการกำหนดวันทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน” นายพริษฐ์กล่าวกับบีบีซีไทย

สส.ก้าวไกล รายนี้ย้ำว่า ที่ประชุมวันนี้ไม่ได้เป็นผู้เลื่อนวันทำประชามติออกไป แต่ “เป็นปัญหาจากการสื่อสารคลาดเคลื่อนของรัฐบาลเอง”

ส่วนจะเป็นการจงใจ “หมกเม็ด” หรือเข้าใจข้อมูลผิดพลาดนั้น นายพริษฐ์ไม่ขอตอบ โดยให้ไปสอบถามจากคนในรัฐบาลเอง

บีบีซีไทยตรวจสอบมติ ครม. เมื่อ 23 เม.ย. จากเว็บไซต์ สลค. ไม่ปรากฏว่ามีการนำข้อมูลมติ ครม. เรื่องการทำประชามติ 3 ครั้ง ขึ้นเผยแพร่ต่อสาธารณะแต่อย่างใด

ขณะที่เว็บไซตทำเนียบรัฐบาลได้สรุปข่าวการประชุม ครม. นัดดังกล่าว โดยอยู่ในเรื่องที่ 17 การพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ โดยระบุว่า ครม. เห็นควรให้ทำประชามติ 3 ครั้ง และทำเมื่อใด และกำหนดคำถามในการทำประชามติครั้งที่ 1 ว่าถามอย่างไร ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติ บอกไว้เพียงว่า “คณะกรรมการฯ ได้มีข้อห่วงใยเพิ่มเติม โดยเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ. 2564 เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวสามารถเป็นเครื่องมือทางประชาธิปไตยที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงในเรื่องต่าง ๆ ได้โดยตรง” พร้อมระบุถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นควรให้มีการแก้ไข

อย่างไรก็ตามข่าวการประชุม ครม. ในเว็บไซต์ที่เป็นทางการของรัฐบาล ไม่ได้ระบุว่า การทำประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นภายหลังการแกไข พ.ร.บ.ประชามติ แล้วเสร็จแต่อย่างใด

พ.ร.บ. ประชามติฉบับปจจุบัน มาตรา 11 กำหนดว่า เมื่อ ครม. พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรในการที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงตามวันที่กำหนด ตามที่ได้หารือร่วม กกต. ซึ่งต้องไม่เร็วกว่า 90 วัน และไม่ช้ากว่า 120 วันนับแต่วันที่ ครม. มีมติ

ครม. ชงเองร่างแก้ไข กม.ประชามติ

ส่วนการยกร่างแก้ไขกฎหมายประชามติปี 2564 นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้ยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายประชามติ โดยนำจุดแข็งของแต่ละร่างมารวมกันเพื่อให้ได้กฎหมายประชามติที่ดี ไม่ใช่แค่เรื่องรัฐธรรมนูญ แต่ทำประชามติได้ทุกเรื่อง โดยจะเสนอในนามของ ครม.

เขายังเปิดเผยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับรัฐบาลเอาไว้ ดังนี้

  • การจัดให้มีการออกเสียงประชามติสามารถทำพร้อมกับการเลือกตั้งอื่นได้ เพื่อประหยัดงบประมาณและเวลาของประชาชน
  • สามารถออกบัตรเลือกตั้งอื่นได้ เช่น การลงคะแนนผ่านไปรษณีย์, ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, ผ่านแอปพลิเคชัน
  • ในการผ่านประชามติ กำหนดให้ใช้ “เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง” ไม่ใช่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จากเดิมกำหนดให้ใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้นคือ ชั้นแรก ต้องมีผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และชั้นที่สอง ต้องมีผู้โหวตเห็นด้วยจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิออกเสียง

นายนิกรคาดว่า ในวันพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) จะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับนี้ผ่านเว็บไซต์ สปน. ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเสนอ ครม. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป โดยตั้งใจจะเสนอร่างดังกล่าวเพื่อพิจารณาในวาระแรกได้ทันการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ภายหลังการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ในเดือน มิ.ย. จากนั้นในเดือน ก.ค. จะได้พิจารณาวาระต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมี สว. ชุดใหม่เข้ามาแล้ว

คาดเลื่อนประชามติยกแรกไป 5-6 เดือน

ส่วนที่รัฐบาลเคยระบุว่า ประชาชนจะได้เข้าคูหาประชามติครั้งแรกปลายเดือน ก.ค. ถึงต้นเดือน ส.ค. นั้น นายนิกรกล่าวว่า เห็นปัญหาว่าหากทำประชามติโดยยังไม่แก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ โดยใช้งบประมาณไปกว่า 3,000 ล้านบาท แล้วคนมาใช้สิทธิไม่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั่วประเทศ หรือ 26 ล้านคน จากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 52 ล้านคน จะทำให้งบประมาณเสียไปเปล่า ๆ หลังจากนี้จะได้เข้าคูหาเมื่อใดนั้น ต้องรอให้กฎหมายประชามติฉบับใหม่เสร็จสิ้นก่อน แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปคุยรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งเรื่องงบประมาณ การกำหนดวัน ถ้าถามเวลาตอนนี้ยังตอบไม่ได้ แต่คาดว่าจะทำได้ภายใน 5 เดือนหลังกฎหมายประชามติมีผลบังคับใช้

นายนิกรยังเสนอให้ทำประชามติครั้งที่ 2 ในวันเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตังหวัด (อบจ.) ช่วงต้นเดือน ก.พ. 2568 พร้อมยืนยันว่า การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสร็จในกรอบเวลา 4 ปีของรัฐบาลนี้

ด้านนายชูศักดิ์กล่าวถึงขั้นตอนในการพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ว่า เมื่อ 250 สว.ชุดเฉพาะกาลหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. นี้ ก็จะกลับไปใช้ขั้นตอนปกติ โดยผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระ ก่อนส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ โดยจะเร่งรัดให้กฎหมายนี้เข้าสู่สภาในการเปิดสมัยประชุมสมัยวิสามัญ

“ไทม์ไลน์คาดการณ์ว่า การทำกฎหมายประชามติไม่น่าจะเกิน 6 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าการเริ่มทำประชามติครั้งแรกจะนับระยะเวลา 6 เดือนหลังจากนี้” นายชูศักดิ์กล่าว

ก้าวไกลชงเปิดวิสามัญด่วน-เปลี่ยนคำถามประชามติ

แก้รัฐธรรมนูญ 60: ประชามติครั้งแรกจะไม่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค.-ส.ค.

นายชูศักดิ์ ศิรินิล กับนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ต่อประธานสภา เมื่อ 1 ก.พ.

อย่างไรก็ตามนายชูศักดิ์ และนายพริษฐ์ มีความเห็นร่วมกันว่า ให้ ครม. เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญโดยเร็วที่สุด ซึ่งพรรค ก.ก. เสนอให้เปิดวิสามัญในเดือน พ.ค. โดยไม่จำเป็นต้องรอพ่วงไปกับการเปิดวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ที่ เนื่องจากขณะนี้มีร่างแก้ไขกฎหมายประชามติฉบับก้าวไกลและเพื่อไทยรอเข้าสู่การพิจารณาของสภาแล้ว หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติของ ครม. เสนอมาทัน ก็สามารถนำมาประกบได้ทันที แต่ถ้าไม่ทัน ก็สามารถเสนอเนื้อหาเพิ่มเติมในชั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ในภายหลังได้

ในเมื่อการทำประชามติยกแรก ต้องรอหลังมี พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับใหม่ สส.ก้าวไกลรายนี้จึงเสนอให้ทบทวนคำถามประชามติครั้งแรก โดยเปลี่ยนไปไช้คำถามที่เปิดกว้างว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เพราะมองว่าจะมีโอกาสผ่านมากกว่า และหากประชามติผ่านไปแล้ว รัฐบาลยังสามารถรักษาจุดยืนของตัวเองที่จะไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ได้ในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

สำหรับคำถามในการจัดระชามติครั้งที่ 1 ที่ ครม. เห็นชอบให้สอบถามประชาชนคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”

OTHER NEWS

28 minutes ago

Courteney Cox shares a regret from raising her teen daughter Coco

28 minutes ago

The lunch rush is dead as Americans live for the weekend

29 minutes ago

Lawndale mass shooting leaves 6 injured, Chicago police say

30 minutes ago

Diane Kruger On David Cronenberg’s Personal Grief That Informed ‘The Shrouds’: “He Was Reliving A Little Bit Of His Life Every Time I Came On Screen”

30 minutes ago

Watch Kevin Costner Being Honored With France’s Order of Arts and Letters In Cannes As Culture Minister Declares: “I Will Always Love You”

30 minutes ago

Bernardeschi scores three goals as rampant Toronto FC thumps CF Montreal 5-1

30 minutes ago

Ukraine bombs the port where Russia's Black Sea fleet moved to after Crimea got too risky for its warships, reports say

30 minutes ago

Rodney Harrison Believes Steelers Will Get Back to Their Roots on Defense

30 minutes ago

Manchester United set Jadon Sancho asking price as club is interested

32 minutes ago

Finland to present plan to push back migrants on Russian border

34 minutes ago

Helicopter carrying Iran's president involved in 'hard landing' - state media

34 minutes ago

John Oates talks ‘Reunion’ and the likelihood of one with Daryl Hall

34 minutes ago

How Much Will Manulife Financial Pay in Dividends This Year?

35 minutes ago

What’s a movie that everyone has seen, but you somehow have not?

38 minutes ago

Tennis star who secretly quit the sport 'for career as lingerie model' is accused of STEALING valuable antique furniture and failing to pay rent... after 'fleeing to America to escape Italian tax authorities'

38 minutes ago

Video: Tim Robards documents six-hour road trip from hell: 'It started with my daughter needing to crap just as we hit the freeway'

38 minutes ago

Video: Revealed: How Russians occupied new undisputed champion Oleksandr Usyk's family home in Ukraine, smashed it up and booby-trapped it with grenades

38 minutes ago

Record immigration behind a third of rent rises

38 minutes ago

Rhasidat Adeleke finishes fourth in 200m at Los Angeles Grand Prix

38 minutes ago

Developing carbon-capture batteries to store renewable energy, help climate

38 minutes ago

Emma Stone embraces her real name, Emily, during a press conference at Cannes Film Festival, fans find the moment heartwarming and adorable

38 minutes ago

P.J. Washington's free throws finish rally as Mavs beat Thunder 117-116 to reach West finals

38 minutes ago

Summerlike warmth sparks storm risk in southern Ontario

38 minutes ago

EC imposes condition over Cabinet meeting in Telangana

38 minutes ago

Clash between China and Norway: beginning of a Third World War?

38 minutes ago

Minecraft Fan Celebrates 15th Anniversary With Stunning Block Fan Art

38 minutes ago

‘We’re going to reverse a lot of things’, says Duduzile Zuma at packed MKP manifesto launch in Soweto

38 minutes ago

'We're in our 20s but live in the 1940s'

38 minutes ago

Bridgerton in bloom! Chelsea Flower Show will feature a garden inspired by Penelope Featherington's turmoil, with an 'abundance of ivy and ferns'

38 minutes ago

Gambler, 72, claims Atlantic City casino is refusing to pay out $2.5MILLION slot machine win

40 minutes ago

Fan-favorite “John Wick” character is getting a spinoff movie with Donnie Yen

40 minutes ago

Microsoft delivers an AI blow to Nvidia

40 minutes ago

Aerospace startup makes major strides toward producing all-electric aircraft with eye-catching features — here's a closer look

44 minutes ago

'What a limitless gift it is to have had her in my life': Rob Rinder shares his heartbreak as his grandmother passes away at 96 and pens touching tribute

44 minutes ago

Britain's Got Talent viewers fume over K-pop band Blitzers fame in Korea as they reignite row over international acts competing on ITV show

44 minutes ago

Demi Moore, 61, looks stylish in a strapless dress as she cradles her beloved Chihuahua Pilaf at an event during Cannes Film Festival

44 minutes ago

Is Bridgerton already setting up its promised queer romance?

44 minutes ago

Increasing the US’ housing supply could curb inflation: EJ Antoni

44 minutes ago

Women and children killed in Israeli airstrikes in Gaza

44 minutes ago

Audi RS4 Avant Vs. BMW M3 Touring Drag Race: It's Not Even Close

Kênh khám phá trải nghiệm của giới trẻ, thế giới du lịch