รู้จักกลไก "ค่าเงิน" ค่าเงินแข็ง-ค่าเงินอ่อน คืออะไร? ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร?

รู้จักกลไก

ในช่วงนี้ สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนและนักธุรกิจในเอเชียจับตามองก็คือ ‘ค่าเงิน’ เพราะในปัจจุบันสกุลเงินเอเชียนั้นอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยเฉพาะค่าเงิน ‘เยน’ ของญี่ปุ่นที่เมื่อวันที่ 29 เมษายน อ่อนค่าทะลุระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปีที่ 160 เยนต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ

แม้ปัจจุบันเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นมาแล้ว หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซง สถานการณ์ก็ยังไม่นิ่ง เพราะถ้าปัจจัยหลักที่กดดันค่าเงินเอเชียอยู่อย่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้นยังไม่มีทีท่าที่จะลดลง และถ้าปล่อยให้อ่อนค่าลงไปอีกโดยไม่แทรกแซง ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ เพราะจะเพิ่มต้นทุนในการนำเข้าสินค้า และเพิ่มมูลค่าหนี้ต่างประเทศ

ดอกเบี้ยธนาคารกลางของสหรัฐฯ เกี่ยวอะไรกับสกุลเงินในเอเชีย?

ทำไมค่าเงินที่อ่อนลงจึงเพิ่มต้นทุนในการนำเข้าสินค้า และเพิ่มมูลคาหนี้ต่างประเทศ?

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจคอนเซปและความสำคัญของค่าเงินกันมากขึ้น ในวันนี้ SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนไปรู้จักกลไกค่าเงินกันว่าทำงานอย่างไร อะไรทำให้ค่าเงินผันผวน และหากอ่อนค่าหรือแข็งค่ามากเกินไปจะส่งผลเสียอย่างไรบ้างต่อระบบเศรษฐกิจของสกุลเงินนั้นๆ

 

‘สกุลเงิน’ ปัจจัยสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

ปัจจุบัน แต่ละประเทศจะมีสกุลเงินเป็นของตัวเอง เพื่อเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยน และเป็นตัวกำหนดมูลค่าราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ

ทั้งนี้ ในเมื่อปัจจุบันแต่ละประเทศมีการติดต่อค้าขายกันอย่างแพร่หลาย และต้องมีการแปลงมูลค่าสินค้าในสกุลเงินหนึ่งมาเป็นอีกสกุลเมื่อมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า สกุลเงินจึงกลายสภาพเป็นสินค้าหนึ่งตามไปด้วย ซึ่งจะมีมูลค่าและราคาขึ้นลงตามดีมานด์หรือความต้องการของคนที่จะถือค่าเงินนั้นๆ

โดยหากกล่าวเปรียบเทียบง่ายๆ ‘ค่าเงิน’ ก็คือ ราคาในการซื้อเงินสกุลหนึ่งด้วยการใช้เงินสกุลอื่น เช่น ถ้าในตอนนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 37 บาท ก็เท่ากับว่าเราต้องใช้เงิน 37 บาท ในการซื้อเงินหนึ่งดอลลาร์ และถ้าหากเงินดอลลาร์เป็นที่ต้องการมากขึ้นจนมีค่ามากขึ้น เช่น มีค่า 40 บาท คนไทยก็จะต้องจ่ายแพงขึ้นในการซื้อเงินดอลลาร์ ซึ่งเราเรียกการเพิ่มขึ้นของค่าเงินนี้ว่า “การแข็งค่า”

ในทางกลับกัน หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าลดลง เช่น ลดลงเหลือ 34 บาท คนไทยก็จะสามารถจ่ายถูกลงในการซื้อเงินหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งเราเรียกการลดลงของค่าเงินนี้ว่า “การอ่อนค่า”

ดังนั้น จากกลไกนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อมีสกุลเงินหนึ่งแข็งค่าขึ้น อีกสกุลเงินหนึ่งที่ถูกนำมาเปรียบเทียบจะอ่อนค่าลงทันที ทำให้สภาพเศรษฐกิจของทั้งภายในและภายนอกประเทศสามารถส่งผลกระทบต่อค่าเงินในแต่ละประเทศได้ทั้งหมด

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เงินแข็งค่าหรืออ่อนค่า?

อย่างที่ได้เกริ่นไป ค่าเงินนั้นจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเป็นที่ต้องการมากขึ้น และอ่อนค่าลงเมื่อไม่เป็นที่ต้องการตามกลไกตลาด และปัจจัยที่จะทำให้เงินแต่ละสกุลเป็นที่ต้องการมากขึ้นหรือน้อยลงก็มีทั้ง สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อภายในประเทศ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง นโยบายการคลังของรัฐบาลในการดำเนินเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ

โดยทั่วไป เงินจะแข็งค่าขึ้นเมื่อมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าไปในประเทศจำนวนมาก ทำให้เงินสกุลนั้นเป็นที่ต้องการ เช่น

  • ในเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ กำลังเติบโตได้ดี มีศักยภาพในการเติบโตสูง มีเสถียรภาพทางการเมือง ดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปได้มาก
  • มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัว หรือดอกเบี้ยสูง ทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงกว่า 
  • มีการเกินดุลการค้า คือมีการส่งออกสินค้ามากกว่านำเข้า ทำให้มีการแลกสกุลเงินอื่นเป็นสกุลเงินของประเทศส่งออกมากขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็คือ เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ที่กำลังแข็งค่า เพราะเศรษฐกิจกำลังเติบโตได้ดี ทั้งด้านการบริโภคและการผลิต มีภาคเทคโนโลยีที่เติบโตได้ดีและมีมูลค่าสูง อีกทั้งยังมีเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูง โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งตัวคงระดับได้ในขณะนี้คือทีท่าของเฟดที่น่าจะคงระดับดอกเบี้ยนโยบายไปอีกระยะเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ

ในทางกลับกัน เงินจะอ่อนค่าลงเมื่อมีเงินทุนไหลออกจากประเทศนั้นๆ ทำให้เงินสกุลนั้นไม่เป็นที่ต้องการ เช่น 

  • เมื่อเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ อ่อนแอ ไม่น่าดึงดูดสำหรับนักธุรกิจและนักลงทุน เช่น มีปัญหาโครงสร้าง มีศักยภาพในการเติบโตต่ำ ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีปัญหาหนี้สาธารณะสูง
  • มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว คือมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้ให้ผลตอบแทนในการลงทุนที่ต่ำกว่า
  • มีการขาดดุลการค้า คือมีการนำเข้าสินค้ามากกว่าการส่งออก ทำให้ต้องมีการแลกเงินสกุลผู้นำเข้าเป็นเงินสกุลอื่นๆ มากเพื่อซื้อสินค้า

 

ค่าเงินแข็งค่าและอ่อนค่าส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร? ยิ่งแข็งยิ่งดีจริงหรือ?

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ค่าเงินต้องแข็งเท่านั้นถึงจะถือว่าดี แต่แท้จริงแล้ว การขึ้นลงของค่าเงินเป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติตามกลไกตลาด และช่วยสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ไม่ว่าค่าเงินจะแข็งขึ้นหรืออ่อนลง ก็จะมีผู้ที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์แตกต่างกันไป โดยเฉพาะในภาคส่วนหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และการค้าระหว่างประเทศ เช่น ภาคธนาคาร และภาคการนำเข้าส่งออก

โดยหากค่าเงินแข็งค่าขึ้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ก็คือ 

  • ผู้นำเข้าสินค้าที่จะนำเข้าสินค้าได้ในราคาที่ลดลง 
  • ผู้นำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรจากต่างประเทศที่จะมีต้นทุนจากการนำเข้าอุปกรณ์ และต้นทุนในการทำธุรกิจลดลง
  • ผู้ที่มีหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพราะมูลค่าของหนี้จะลดลงเมื่อเทียบกับเงินในประเทศ
  • คนทั่วไปที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ ที่ซื้อได้ในราคาจะถูกลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศ

แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่จะเสียประโยชน์จากการที่ค่าเงินแข็งขึ้นก็คือ

  • ผู้ส่งออก เพราะจะทำให้รายได้ที่รับมาเป็นสกุลต่างประเทศมีมูลค่าลดลงเมื่อแลกเป็นเงินในประเทศ
  • ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่รับเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพราะจะสามารถแลกเป็นเงินในประเทศลดลง
  • ผู้ที่ทำงานในต่างประเทศ เพราะแรงงานเหล่านี้จะนำรายได้ที่หามาได้จากต่างประเทศแลกกลับเป็นสกุลเงินในประเทศได้ลดลง

ดังนั้น การที่ค่าเงินแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนลงนั้นจึงมีผลดีและผลเสียกับเศรษฐกิจแตกต่างกันไป และไม่สำคัญเท่ากับ ‘เสถียรภาพของค่าเงิน’ เพราะถึงการที่ค่าเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเร็วหรือมากเกินไปก็ย่อมสร้างความเสียหาย เพราะทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคภายในประเทศไม่สามารถปรับตัวและรับมือได้ทัน

หนึ่งในตัวอย่างวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการผันผวนของค่าเงินก็คือ วิกฤติต้มยำกุ้งปี 1997-1998 ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็วจาก 25 บาท เป็น 55 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีนักลงทุนต่างชาติโจมตีค่าเงินบาทด้วยการทำลายความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่อ่อนแอในขณะนั้น เช่น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้ระยะสั้นที่สูง และเงินสำรองระหว่างประเทศที่ต่ำ จนทำให้ต่างชาติเทขายเงินบาท และแบงก์ชาติประกาศลอยตัวค่าเงิน

ดังนั้น ความท้าทายของการควบคุมค่าเงินคือ การที่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางต้องวิเคราะห์สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจให้รอบคอบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินอ่อน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งจากแรงกดดันจากค่าเงินประเทศ หรือสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่อ่อนแอ ต้องอ่อนระดับไหนถึงเรียกว่าอันตราย และต้องใช้วิธีการแทรกแซงเวลาไหนอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม

ธนาคารกลางสามารถแทรกแซงค่าเงินได้อย่างไรบ้าง?

ในปัจจุบัน ธนาคารกลางควบคุมค่าเงินได้ด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศเพื่อชะลอความผันผวนของค่าเงิน 

เช่น หากธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป แบงก์ชาติก็จะเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศและขายเงินบาท ทำให้เงินต่างประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่ถ้าเงินบาทอ่อนเกินไป แบงก์ชาติจะเข้าซื้อเงินบาท และขายเงินต่างประเทศ เพื่อทำให้เงินบาทเป็นที่ต้องการมากขึ้น

นี่ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการควบคุมค่าเงิน และยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งปลอดภัยเท่านั้น โดยจากข้อมูลวันที่ 19 เมษายน เงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิของไทยอยู่ที่ 9.21 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการผันผวนของค่าเงินไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เพราะสามารถคาดเดาและเตรียมตัวรับมือได้ หากการแข็งค่าหรืออ่อนตัวไม่เกิดขึ้นเร็วเกินไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางของแต่ละประเทศที่จะต้องควบคุม และซื้อเวลาให้นักธุรกิจ นักลงทุน รวมไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศปรับตัวได้ทัน

อ่านข่าวต้นฉบับ:

อมรินทร์ทีวี ทันข่าวได้ที่

เว็บไซต์:www.amarintv.com

เรื่องธุรกิจที่ :ติดตาม SPOTLIGHT มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ

OTHER NEWS

17 minutes ago

Russian court freezes assets of two German banks in gas project dispute

21 minutes ago

Demi Moore Talks Role In Taylor Sheridan’s ‘Landman’ & Confirms Second Season Ahead Of Cannes Official Selection Debut In ‘The Substance’

22 minutes ago

A helicopter carrying Iranian President Ebrahim Raisi went down in a 'hard landing'

25 minutes ago

Ignoring pensions during a divorce costs women billions

25 minutes ago

Adhir Chowdhury, Mallikarjun Kharge cross swords over Mamata Banerjee's role in opposition bloc

25 minutes ago

Will the Northern Lights be over London Sunday, May 19 - chances of seeing them and how to keep track on phone

25 minutes ago

Cannes Film Festival meat ban starts beef over A-listers jetting in to France

25 minutes ago

How Is 'Bridgerton' Season 3 Different From Novel Inspiration?

25 minutes ago

Ukraine Shoots Down Fourth Russian Fighter Jet in Two Weeks: Kyiv

25 minutes ago

Only the Astronauts by Ceridwen Dovey review – playful and deeply moving close encounters

26 minutes ago

Biden tells Morehouse graduates that he hears their voices of protest over the war in Gaza

29 minutes ago

Kate Moss looks chic in a cream dress as she enjoys a stroll and some ice cream in Provence with her longtime musician pal Bobby Gillespie - amid speculation over her love life

29 minutes ago

Boris Johnson and Nadine Dorries’ youth fund quietly cut by £58m under Rishi Sunak

31 minutes ago

Max Verstappen holds off charging Lando Norris to take victory in Imola

31 minutes ago

Stephen Merchant says ‘people are allowed to criticise things’ amid cancel culture debate

31 minutes ago

Verstappen holds off charging Norris to win at Imola

31 minutes ago

Helicopter in group carrying Iran’s President Raisi makes rough landing, says minister

31 minutes ago

Chelsea’s 2023-24: player ratings for Women’s Super League title winners

31 minutes ago

The unlikely California exodus: Idaho becomes a hotspot for Republicans looking to flee the golden state

31 minutes ago

Mark Wells, Miracle on Ice Olympic hockey gold medalist, dies at 66

31 minutes ago

Branson’s back? Virgin Trains looks to show up Avanti in bid for west coast route

31 minutes ago

Planet Fitness’s New Chief Steps Into a Culture-War Storm

32 minutes ago

Ozone Action Day: Unhealthy air quality levels expected across southeast Texas

33 minutes ago

Neuropsychologist: 4 tips to stop the cycle of negative self-talk—your ‘thoughts are not the absolute truth'

34 minutes ago

Apple Vision Pro Could Shake Up The Creative Industries And Bring VR Into The Mainstream, But It Has A Mountain To Climb

34 minutes ago

Helicopter carrying Iran’s president suffers a ‘hard landing,’ state TV says

36 minutes ago

Adelaide train assault: Women allegedly spat at, assaulted and verbally abused on the Gawler line

36 minutes ago

LIZ JONES: King Charles and William, give Harry and Meghan the best anniversary gift they could imagine: Welcome the Firm's biggest assets back into the fold

36 minutes ago

Video: Iranian president Ebrahim Raisi is missing in helicopter crash as frantic rescue mission is launched - a month after Tehran launched unprecedented missile barrage on Israel

36 minutes ago

Video: Shocking moment worker suffers serious burns in massive warehouse explosion as company is fined £200,000

36 minutes ago

Video: Moment Putin's soldiers are spotted looting electrical goods from Ukrainian homes after Russian forces moved into newly-invaded districts

36 minutes ago

Video: Belle Gibson: Brother breaks silence on 60 Minutes about the harrowing impact the notorious cancer faker's lies have had on his life- as he reveals another side to the conwoman

37 minutes ago

Chelsea vs Bournemouth LIVE! Premier League match stream, latest score and goal updates today

38 minutes ago

‘Everyone wants a plane for summer’: luxury trade fair woos super-rich

38 minutes ago

Top Irish country singers set to perform in Wexford for a worthy cause

40 minutes ago

America's first Black astronaut candidate finally goes to space 60 years later on Bezos rocket

40 minutes ago

Max Verstappen holds off charging Lando Norris to take victory in Imola

41 minutes ago

Premiership team of the season: Immanuel Feyi-Waboso the breakout star

41 minutes ago

Federal byelection announced for June 24 in Toronto St. Paul’s riding

41 minutes ago

The West Block – Episode 36, Season 13

Kênh khám phá trải nghiệm của giới trẻ, thế giới du lịch