วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์”

วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไม “พม่า” (เมียนมา) ย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์”

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้งไปยังเมืองเพียงมะนา (Pyinmana หรือ เปียงมะนา) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบน (Upper Sittang Valley) ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร โดยให้เหตุผลว่าเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหภาพพม่ามีความเหมาะสมทั้งทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 อันเป็นวันกองทัพ พม่า ราชธานีแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านจั๊ตปเย (Kyatpyae) ทางด้านตะวันตกในเขตเมืองเพียงมะนาได้ถูกสถาปนาอย่างเป็นทางการโดยมีชื่อว่า กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw, Nay Pyi Taw หรือ เนปยีดอว์) ซึ่งแปลว่า บัลลังก์แห่งกษัตริย์ จากบริบทดังกล่าว เนปิดอว์ คือ ชื่อของเมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งถูกรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลทหารพม่า ในขณะที่เพียงมะนา คือ ชื่อของเมืองและเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงกล่าวโดยรวมแล้ว ราชธานีแห่งใหม่ของพม่ามีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า นครเพียงมะนา เนปิดอว์

สำหรับสาเหตุของการสถาปนาศูนย์อำนาจแห่งใหม่และลักษณะทางกายภาพของเมืองหลวงพม่านั้นจัดว่ามีรายละเอียดและประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ทำไมพม่าต้องย้ายเมืองหลวง?

การย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเพียงมะนาจัดเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าที่ประกอบด้วยแรงผลักดันหลากหลายประการตลอดจนได้รับอิทธิพลจากหลักนิยมทางการทหารและสภาวะแวดล้อมของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็นซึ่งส่งผลให้นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงและฐานอำนาจของรัฐบาลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร โดยต่อไปนี้ ผู้เขียนจะขอรวบรวมและวิเคราะห์เหตุปัจจัยว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของรัฐพม่าผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการอย่างเป็นระบบเพื่อฉายภาพการวิเคราะห์อย่างลุ่มลึกและรอบด้านโดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก 9 ปัจจัยย่อย ดังต่อไปนี้

1. การรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council-SPDC) ได้ขึ้นครองอำนาจต่อจากระบอบเนวินผ่านการทำรัฐประหารและเข่นฆ่าประชาชนตลอดจนปฏิเสธการคืนอำนาจทางการปกครองให้กับนางอองซาน ซูจี หลังการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลทหารพม่าได้ให้น้ำหนักกับการสร้างเอกภาพทางการเมืองและการขยายแสนยานุภาพทางการทหารเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพและระบอบเผด็จการ

นอกจากนี้กลุ่มคณะทหารยังได้หวาดระแวงภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น การลุกฮือของประชาชนในเขตนครย่างกุ้งซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) การขยายกำลังพลของชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนเพื่อทำสงครามต่อต้านรัฐบาล ตลอดจนการโจมตีจากมหาอำนาจตะวันตกเพื่อล้มระบอบทหารในปัจจุบัน

ผลจากความกังวลใจดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มรัฐบาลทหารดำเนินนโยบายรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) ขยายระบบสายลับเพื่อขจัดศัตรูทางการเมือง ตลอดจนนำหลักนิยมและระบบสายบังคับบัญชาทางการทหารเข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินนโยบายสาธารณะ โดยหากยังมีบริเวณใดที่อำนาจการควบคุมของรัฐบาลยังเข้าไปไม่ถึง หรืออำนาจของรัฐบาลในนครย่างกุ้งเริ่มเกิดความผันผวนระส่ำระสาย หรือทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงเสี่ยงต่อการโจมตีจากศัตรูภายนอก การย้ายเมืองหลวงไปยังทำเลที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์จึงจัดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อสถาปนาศูนย์อำนาจทางการเมืองและการทหารที่เข้มแข็งและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

สำหรับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายเมืองหลวงนั้นสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้

1.1 ภัยคุกคามจากการลุกฮือของประชาชน

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันมีความเชื่อว่าการแบ่งสันอำนาจให้กับประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ของพลเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและอาจนำมาซึ่งการล่มสลายของสหภาพพม่า ตลอดจนคุกคามการถือครองอำนาจของกลุ่มคณะทหาร จากบริบทดังกล่าว นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดพาเอาแนวคิดประชาธิปไตยและวัฒนธรรมการเมืองแบบตะวันตกตลอดจนการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายเครือข่ายทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยทำให้อำนาจที่เข้มแข็งและมีเอกภาพของกลุ่มคณะทหารเริ่มมีลักษณะเปราะบางและกระจัดกระจายมากขึ้น

ประกอบกับประวัติศาสตร์การเมืองของนครย่างกุ้งยังเต็มไปด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาล เช่น เหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลเนวิน เหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มประชาชนเพื่อขับไล่และโค่นล้มระบอบเผด็จการอันนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์พม่า หรือเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2539 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งเพื่อขับไล่คณะทหารและเรียกร้องการคืนอำนาจทางการเมืองให้กับนางอองซาน ซูจี

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มคณะทหารมีความกังวลใจเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและหวาดระแวงต่อการลุกฮือของประชาชนซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยฉับพลันและสร้างความระส่ำระสายให้กับอำนาจของรัฐบาล โดยคณะผู้นำทหารต่างมีความเชื่อว่าพลังเงียบของประชาชนและจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยล้วนฝังรากลึกและขยายเครือข่ายทางการเมืองทั่วเขตเมืองย่างกุ้ง ประกอบกับสถานที่ราชการและค่ายทหารบางแห่งล้วนตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการของสถานทูตตะวันตกและองค์กรระหว่างประเทศโดยลักษณะภูมิทัศน์ดังกล่าวย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อมจากประชาชนหากมีการประท้วงทางการเมืองหรือเสี่ยงต่อการถูกจารกรรมข้อมูลจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ดังนั้นการย้ายศูนย์อำนาจทางการเมืองไปยังเพียงมะนา เนปิดอว์ เพื่อการจัดวางโครงสร้างผังเมืองและระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบจึงเป็นการลดความกังวลใจทางการเมือง ถอยห่างจากวงปิดล้อมของประชาชนในนครย่างกุ้ง ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะในการเคลื่อนกำลังพลและควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินหากมีการจลาจลเกิดขึ้น

1.2 ภัยคุกคามจากการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย

ประวัติศาสตร์ พม่า จัดเป็นประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพม่าแท้กับชนกลุ่มน้อยโดยมีการทำสงครามขับเคี่ยวยื้อแย่งดินแดนตั้งแต่สมัยจารีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การทำสงครามระหว่างพม่ากับอาณาจักรมอญและกลุ่มเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หรือการที่ชนเผ่ากะเหรี่ยงถูกเกณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษเพื่อกดขี่ชาวพม่าในสมัยอาณานิคม

สำหรับในมุมมองของรัฐบาลทหารพม่านั้นชนกลุ่มน้อยจัดเป็นชนชายขอบและเป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนเสถียรภาพของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลทหารจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อแผ่อำนาจควบคุมดินแดนชนกลุ่มน้อยโดยถึงแม้จะมีการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังของชนเผ่าต่าง ๆ แต่ก็ยังคงหลงเหลือ 3 กองกำลังหลักที่เคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากรัฐบาลกลางซึ่งประกอบด้วย กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ (Shan State Army-SSA) กองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ (Karen National Union-KNU) และกองกำลังแห่งชาติคะเรนนีย์ (Karenni National Progressive Party) โดยกองกำลังทั้ง 3 ฝ่ายล้วนมีฐานที่มั่นอยู่ตรงบริเวณชายแดนตะวันออกติดกับประเทศไทย

ในส่วนของการย้ายเมืองหลวงนั้น หากพิจารณาจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) จะพบว่าถึงแม้เมืองเพียงมะนาจะตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศแต่ก็มีอาณาเขตชนแดนชนกลุ่มน้อยทั้ง 3 กลุ่มซึ่งการย้ายเมืองหลวงไปยังบริเวณดังกล่าวย่อมส่งผลให้อำนาจของรัฐบาลมีความเข้มข้นและสามารถควบคุมชนกลุ่มน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถึงแม้จะมีข้อโต้แย้งว่าเมืองเพียงมะนาอาจถูกโจมตีจากกองกำลังชนกลุ่มน้อยแต่หากพิจารณาจากสมรรถนะทางการทหาร… จะพบว่ากองทัพพม่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์และจำนวนกำลังพลมากกว่ากองกำลังทั้ง 3 ฝ่าย

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจึงเป็นผลดีต่อรัฐบาลมากกว่าชนกลุ่มน้อยตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มคณะทหารเพื่อแผ่กระจายอำนาจให้เข้าถึงทั้งดินแดนตอนกลางและดินแดนชายขอบ ในขณะเดียวกันนครย่างกุ้งก็มีจุดอ่อนตรงที่อยู่ห่างไกลจากฐานที่มั่นของชนกลุ่มน้อยและไม่ได้ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศซึ่งทำให้อำนาจที่แผ่ออกจากเมืองหลวงมีความเบาบางแปรผันไปตามระยะทาง

ดังนั้นการสถาปนาเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ในเขตทับซ้อนระหว่างดินแดนของกลุ่มชนชาติพม่าแท้แถบภาคมัณฑะเลย์ มาเกว (Magway) และบาโก (Bago) กับดินแดนของชนกลุ่มน้อยแถบรัฐฉาน กะเหรี่ยง และคะยาห์ จะส่งผลให้ปริมณฑลของอำนาจที่แผ่กระจายออกจากเมืองหลวงมีความเข้มข้นและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

1.3 ภัยคุกคามจากการรุกรานทางทะเลของสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลทหารพม่ามีความเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางการเมืองโลกที่ต้องการโค่นล้มระบอบเผด็จการและเปลี่ยนแปลงพม่าไปสู่ประเทศประชาธิปไตยหากมีช่วงจังหวะที่เหมาะสม โดยความกังวลใจเกี่ยวกับการโจมตีจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตัวขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์ประท้วงในปี พ.ศ. 2531 เมื่อมีการปรากฏตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐในเขตน่านน้ำพม่าบริเวณอ่าวเมาะตะมะ นอกจากนี้หลังจากการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช สหรัฐอเมริกาได้ประณามรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่องตลอดจนออกรัฐบัญญัติว่าด้วยอิสรภาพและระบอบประชาธิปไตยพม่า (Burmese Freedom and Democratic Act of 2003) โดยมีเนื้อหาสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยและอนุมัติงบประมาณฟื้นฟูพม่าหลังการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ…

จากบริบทดังกล่าว ทำเลที่ตั้งของนครย่างกุ้งจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการรุกรานทางทะเลซึ่งสามารถถูกยึดครองโดยกองทัพเรือต่างชาติในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการใช้ภูเขาเป็นปราการในการรับศึกตลอดจนเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการตั้งรับเพื่อทำสงครามกองโจรระยะยาว

โดยหากวิเคราะห์ตามหลักภูมิยุทธศาสตร์ (Geo-Strategy) จะพบว่าหากมีสงครามเกิดขึ้นจริงสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องส่งกองกำลังนาวิกโยธินเข้าปฏิบัติการในเขตภาคพื้นทวีปเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทหารและแสดงชัยชนะที่เด็ดขาดคล้ายคลึงกับปฏิบัติการในอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งมีการวางกำลังเรือรบในอ่าวเปอร์เซียแล้วส่งกองทหารราบเข้ายึดครองเมืองหลวง

จากกรอบแนวคิดดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจะทำให้กองทัพพม่ามีโอกาสต้านทานการรุกรานได้มีประสิทธิภาพกว่าการตั้งรับอยู่ในเขตย่างกุ้งตลอดจนสะดวกต่อการได้รับความช่วยเหลือจากจีนผ่านเครือข่ายคมนาคมจากเมืองมัณฑะเลย์มุ่งตรงสู่เพียงมะนา นอกจากนี้การสถาปนาศูนย์บัญชาการภาคแห่งใหม่ในเขตเมืองหลวงยังเป็นการสะท้อนถึงการเลือกใช้กองทัพบกในการประจันหน้ากับศัตรูเนื่องจากกองทัพเรือของพม่ามีความอ่อนแอและเข้มแข็งน้อยกว่ากองทัพบก

2. การพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ตอนใน

ถึงแม้ว่าการรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหารจะมีอิทธิพลสำคัญต่อการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุด แต่การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนในก็จัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในฐานะศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มคณะทหาร โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบการตลาดเพื่อพัฒนาพม่าให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยตลอดจนนำเงินรายได้จากการขายทรัพยากรจำนวนมหาศาลเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบเผด็จการ

จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารได้กำหนดให้บริเวณตอนใต้ของภาคมัณฑะเลย์ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนเป็นดินแดนหัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรกรรมในเขตลุ่มน้ำอิรวดีและเครือข่ายการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้และพลังงานน้ำจากเขื่อนในเขตลุ่มน้ำสาละวิน แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาในประเทศพม่าก็ยังจัดว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของระบอบทหาร ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนและแร้นแค้น สำหรับประเด็นการวิเคราะห์เพิ่มเติมนั้นจัดว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

2.1 การขยายตัวของการพัฒนาทางการเกษตร

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันได้ดำเนินนโยบายปรับเปลี่ยนเขตแล้งทางตอนกลางของประเทศให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว (Green Area) โดยการขยายเครือข่ายชลประทานครอบลุ่มน้ำสำคัญ เช่น ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำสะโตง ลุ่มน้ำมู และลุ่มน้ำมิตแหง่เพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินอันแห้งแล้งและรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นแปลงเพาะปลูกทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดพรมแดนทางการเกษตรในเขตภาคพื้นทวีปแล้วยังเป็นการจัดตั้งเครือข่ายผลิตเสบียงอาหารให้กับค่ายทหารของกองทัพบก ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเขตพม่าภาคกลาง

จากกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้เลือกพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเพียงมะนาแถบลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนให้เป็นดินแดนหัวใจของการพัฒนาเกษตรกรรม เนื่องจากประกอบด้วยสถานีวิจัยและสถาบันที่มีชื่อเสียงทางการเกษตร รวมถึงเป็นที่ตั้งของเขื่อนสำคัญหลายแห่ง เช่น เขื่อนปองลอง (Paungloung) และเขื่อนเยซิน (Yezin) ตลอดจนมีเครือข่ายชลประทานที่เชื่อมต่อกับลุ่มน้ำอิรวดีและอยู่ไม่ไกลจากลุ่มน้ำสาละวินในเขตที่ราบสูงฉาน

นอกจากนี้การสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่ยังทำให้เกิดการกระจายตัวของประชากรในสภาวะสมดุลซึ่งเป็นนโยบายที่คล้ายคลึงกับการย้ายเมืองหลวงจากอิสตัลบูล (Istanbul) ไปอังการา (Ankara) ของประเทศตุรกี และจากลากอส (Lagos) ไปอาบูจา (Abuja) ของประเทศไนจีเรีย โดยกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลดความหนาแน่นของประชากรในเขตชายฝั่งทะเลและเพิ่มจำนวนประชากรในเขตพื้นที่ตอนใน

สำหรับในกรณีของพม่านั้นจะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่หนาแน่นในเขตพม่าตอนล่างแถบเมืองย่างกุ้งและเมาะลำไย (Moulmein) และเขตพม่าตอนบนแถบเมืองเมฆถิลาและมัณฑะเลย์ ซึ่งส่งผลให้บริเวณชายขอบด้านใต้ของเขตแล้งพม่า (Southern Edge of the Dry Zone) มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ค่อนข้างเบาบาง

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงมายังบริเวณดังกล่าวผสมผสานกับการจัดตั้งเครือข่ายทางการเกษตรจึงส่งผลให้ประชากรจากทั้ง 2 ภูมิภาคอพยพเข้าสู่เขตปริมณฑลของเมืองหลวงแห่งใหม่มากขึ้นอันนำไปสู่การสร้างฐานอำนาจที่แข็งแกร่งของรัฐบาลในการคุมพม่าภาคกลาง ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มความเข้มข้นให้กับการตั้งถิ่นฐานของชาวพม่าเพื่อแผ่อิทธิพลเข้าดูดกลืนและครอบงำชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนตะวันออก

2.2 การขยายตัวของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน

นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา รัฐบาลทหารพม่าได้ขยายโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบริเวณเขตที่ราบและเขตภูเขาตามแนวชายแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตอนในตลอดจนนำรายได้เข้าบำรุงกองทัพเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบทหาร เช่น การสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินทางฟากตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี แหล่งเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตนบริเวณรัฐฉานและคะยาห์ และแหล่งผลิตแร่ทองคำบริเวณยะแมตีง (Yamethin) ทางตอนเหนือของเพียงมะนา

โดยการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดว่าเป็นตัวสะท้อนถึงการแผ่อำนาจของรัฐบาลในการควบคุมทรัพยากรทั้งในเขตที่ราบและเขตภูเขาท่ามกลางการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด สำหรับในส่วนของการพัฒนาพลังงานนั้นจะเห็นว่ารัฐบาลทหารได้วางนโยบายลดการพึ่งพึงก๊าซธรรมชาติและหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนซึ่งจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจพม่าในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยเห็นได้จากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ครอบคลุมลุ่มน้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน

ซึ่งหากพิจารณาตามหลักภูมิเศรษฐศาสตร์จะพบว่าเมืองเพียงมะนาตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มน้ำอิรวดีซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการพัฒนาทางการเกษตรและลุ่มน้ำสาละวินซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับประเทศไทยและจีน โดยในอนาคตเพียงมะนาจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการขยายเครือข่ายพลังงานครอบคลุมทั้ง 3 ลุ่มน้ำ ตลอดจนรองรับรายได้มหาศาลจากการขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งนอกจากจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งแล้วยังทำให้กองทหารพม่าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงแห่งใหม่เข้ามาวางกำลังเรียงรายไปตามเครือข่ายพลังงานในเขตชายแดนตะวันออกเพื่อเปลี่ยนสนามรบให้เป็นอ่างเก็บน้ำตลอดจนครอบครองพื้นที่ป่าไม้ของกองกำลังชนกลุ่มน้อย

2.3 การขยายตัวของเครือข่ายคมนาคมขนส่ง

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) มีความเชื่อว่าการมีระบบโครงข่ายถนนที่โยงใยไปทั่วภูมิภาคจะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งให้กับประเทศ จากแนวยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารได้จัดสร้างเครือข่ายถนนวงแหวนเพื่อเชื่อมโยงหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตภาคพื้นทวีปอย่างเป็นระบบ โดยเห็นได้จากการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนการสร้างทางด่วนสายมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ ยกตัวอย่างเช่น ทางด่วนจากย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์ ตองอูไปยะแมตีง และเพียงมะนาไปพินลวง (Pinlaung)

จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศตลอดจนเป็นชุมทางรถไฟและศูนย์รวมของถนนสายต่าง ๆ ย่อมทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศตลอดจนเคลื่อนกำลังพลอย่างรวดเร็วหากมีศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก ในขณะเดียวกัน ระบบเครือข่ายถนนในประเทศพม่ายังมีการเชื่อมโยงกับทางหลวงสายเอเชีย (Trans Asian Highway) ซึ่งส่งผลให้ประเทศพม่ากลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อระหว่างอินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลจากการขยายตัวของทางหลวงสายเอเชียได้ส่งผลให้เมืองเพียงมะนาในอนาคตกลายเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในแนวดิ่งที่เชื่อมโยงหัวเมืองตอนใต้ของจีนและมัณฑะเลย์เข้ากับนครย่างกุ้งและท่าเรือสำคัญในอ่าวเมาะตะมะ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในแนวระนาบที่เชื่อมโยงหัวเมืองตะวันออกของอินเดียและรัฐอาระกันเข้ากับหัวเมืองชายแดนในเขตที่ราบสูงฉานและตัดเข้าสู่ประเทศลาว ไทย และเวียดนาม

ดังนั้นการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในเขตเมืองเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึกของรัฐบาลทหารพม่าเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบการขนส่งภาคพื้นทวีปตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะของรัฐบาลในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

3. การสร้างเอกภาพทางสังคมและวัฒนธรรม

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) ได้ดำเนินนโยบายเพื่อที่จะสถาปนาเอกภาพทางจิตวิญญาณให้กับระบอบทหารและสหภาพพม่า (Union Spirit) โดยเห็นได้จากการปลุกระดมลัทธิราชาชาตินิยม (Monarchical Nationalism) เพื่อหวนกลับไปหาความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิพม่ายุคโบราณ การปลุกระดมลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก เพื่อผลักดันการแทรกแซงจากต่างชาติและสร้างความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์ การดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์กลุ่มโบราณสถานและราชธานีเก่าเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนการใช้หลักโหราศาสตร์ในการประกอบพิธีสำคัญระดับชาติเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์และโน้มน้าวให้ประชาชนมีความศรัทธาในตัวผู้นำ

สำหรับการย้ายเมืองหลวงนั้นจัดเป็นส่วนหนึ่งของจารีตโบราณและเป็นสัญลักษณ์แห่งการเบิกยุคใหม่เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับประเทศตลอดจนเป็นการประกาศอำนาจของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย ในฐานะผู้ปกครองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบารมีทางการเมือง จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้ประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนักโบราณ หลักโหราศาสตร์ และลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตกเพื่อปรุงแต่งและเติมเต็มให้กระบวนการเคลื่อนย้ายเมืองหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นตามโลกทรรศน์พม่า โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

3.1 การปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณ

หลังจากเหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลทหารพม่าได้รื้อฟื้นประเพณีราชสำนักโบราณตลอดจนลอกเลียนแบบพฤติกรรมของกษัตริย์พม่าในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันกองทัพให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถาบันกษัตริย์ในยุคจารีต ยกตัวอย่างเช่น การยกยอดฉัตรเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สำคัญต่าง ๆ การบูรณะกลุ่มราชธานีเก่า เช่น พุกาม ตองอู อังวะ และหงสาวดี ตลอดจนการครอบครองช้างเผือกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราชและเป็นเครื่องประดับบารมีของกษัตริย์พม่าในอดีต

จากสภาวะดังกล่าว การย้ายเมืองหลวงไปยังนครเนปิดอว์ซึ่งแปลว่าบัลลังก์แห่งกษัตริย์นั้นจัดว่าเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความพยายามของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยในการประกาศตัวเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นกับกษัตริย์พม่าโบราณ ตลอดจนเป็นการสร้างชื่อในประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศพม่าประกาศย้ายเมืองหลวงหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ

นอกจากนี้แหล่งข่าวในพม่ายังกล่าวว่าประชาชนบางกลุ่มถูกบังคับให้เดินโดยเท้าเปล่าจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ ซึ่งคล้ายคลึงกับไพร่ราบของกษัตริย์พม่าในอดีต ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุดจึงสะท้อนถึงการปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณตลอดจนแสดงถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในระบบความคิดและโลกทรรศน์ของผู้นำพม่าคนปัจจุบัน (พลเอกอาวุสโสตันฉ่วย – กองบก.ออนไลน์)

3.2 การปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์

กรณีการย้ายเมืองหลวงในปัจจุบันนั้น แหล่งข่าวลือในพม่ามีความเชื่อว่าโหราจารย์ประจำตัวพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยได้ทำนายว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน ปี พ.ศ. 2548 ดาวประจำตัวของผู้นำพม่าเริ่มอับแสงอันส่งผลให้บัลลังก์แห่งอำนาจเริ่มสั่นคลอนโดยหนทางเดียวที่จะรักษาการดำรงอยู่ของระบอบทหารคือการย้ายเมืองหลวงออกจากนครย่างกุ้ง

นอกจากนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เขตปกครองย่างกุ้ง (Yangon Division) และเมืองต่าง ๆ ในเขตพม่าตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวอันเกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้ยอดฉัตรของมหาเจดีย์ Mawdinsoon ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขตย่างกุ้งหักพังทลายลงมา ซึ่งส่งผลให้คนพม่าทั่วไปมองว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวคือสัญลักษณ์แห่งลางร้ายที่เข้าคุกคามนครย่างกุ้ง

ตลอดจนตามประวัติศาสตร์การเมืองของพม่านั้น การเกิดแผ่นดินไหวมักจะตามมาด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น การเกิดแผ่นดินไหวในเมืองพุกาม ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งตามมาด้วยการเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษาและผู้ใช้แรงงานเพื่อต่อต้านรัฐบาล หรือการเกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริคเตอร์ แถบชายแดนพม่า-อินเดียซึ่งนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงโค่นล้มระบอบเนวิน ในปี พ.ศ. 2531 ดังนั้นปัจจัยทางโหราศาสตร์จึงมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุการณ์สำคัญระดับชาติซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้พลเอกอาวุสโสตันฉ่วยตัดสินใจย้ายเมืองหลวงออกจากย่างกุ้ง

สำหรับการปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์นั้น สามารถเห็นได้จากการประกาศโยกย้ายข้าราชการออกจากนครย่างกุ้งเวลา 6 นาฬิกา 37 นาที เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน (เดือน 11)  ปี พ.ศ. 2548 โดยรถบรรทุกจากหน่วยงานทหารจำนวน 1,100 คัน ได้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนกลุ่มข้าราชการพลเรือนจำนวน 11 กอง และข้าราชการทหารอีก 11 กอง มุ่งตรงสู่เมืองเพียงมะนา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเลข 6 คือเลขนำโชคของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย และเลข 11 คือเลขมงคลที่สัมพันธ์กับดวงเมืองของราชธานีแห่งใหม่

3.3 การปรับใช้และดัดแปลงลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก

ความขมขื่นจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมและการพังทลายของจักรวรรดิพม่านับตั้งแต่กองทัพอังกฤษ-อินเดียยาตราทัพเข้าเหยียบย่ำราชธานีมัณฑะเลย์ ยังคงอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้นำทหารซึ่งยังคงยึดติดอยู่กับลัทธิชาตินิยมและการเสริมภาพลักษณ์ของกองทัพในฐานะผู้ปกป้องมาตุภูมิจากกองกำลังต่างชาติ ยุทธศาสตร์การย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดเป็นหนึ่งในกระบวนการต่อต้านและปลดแอกออกจากลัทธิอาณานิคม (Decolonization)

โดยหากพิจารณาตามกรอบประวัติศาสตร์และความผันผวนของระบบโลกจะพบว่า นครย่างกุ้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงของพม่าตามมุมมองของกลุ่มคณะทหาร เนื่องจากถูกสถาปนาโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษผู้ปล้นเอกราช ตลอดจนเคยเป็นฐานทัพที่กองทัพอังกฤษใช้เป็นหัวหาดในการขยายอิทธิพลเข้ายึดราชธานีมัณฑะเลย์ ดังนั้นกรุงย่างกุ้งจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอัปยศอดสูในประวัติศาสตร์พม่า ประกอบกับย่างกุ้งยังไม่ได้ตั้งอยู่ในดินแดนหัวใจของวัฒนธรรมพม่าแถบลุ่มน้ำอิรวดีและสะโตง แต่ในทางตรงข้ามกลับตั้งอยู่บริเวณชายขอบในเขตพม่าตอนล่างซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญและเป็นศูนย์กลางทางการค้าเพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้กับกองทัพอังกฤษ

ในขณะเดียวกันการถาโถมของวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางการค้ารอบอ่าวเมาะตะมะได้ส่งผลให้ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ (Neo-Colonialism) เริ่มก่อตัวคุกคามอำนาจของรัฐบาลทหารตลอดจนวิถีชีวิตโดยรวมของชาวพม่าในเขตย่างกุ้งประกอบการเริ่มมีตึกระฟ้าสมัยใหม่ผุดขึ้นกลางเมืองเคียงคู่กับกลุ่มอาคารสมัยอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ซึ่งลักษณะทางภูมิทัศน์ดังกล่าวได้ส่งผลให้นครย่างกุ้งคือจุดหลอมรวมของมรดกจากยุคอาณานิคมและการแพร่กระจายของลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ (Neo-Imperialism)

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นการถอยห่างจากอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและเป็นการสถาปนาศูนย์กลางทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ท่ามกลางความผันผวนของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็น

จากการรวบรวมและวิเคราะห์เหตุปัจจัยเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวงในรัฐพม่า ทำให้ทราบว่าการย้ายเมืองหลวงในยุคปัจจุบันล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยเงื่อนไขอันสลับซับซ้อนตลอดจนได้รับอิทธิพลจากสภาวะแวดล้อมแบบใหม่ของสภาพสังคมยุคหลังสงครามเย็น การสถาปนานครเพียงมะนา เนปิดอว์ จัดเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร การพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ตอนใน และการสร้างเอกภาพทางสังคมและวัฒนธรรม โดยรัฐบาลทหารได้ให้น้ำหนักกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพและระบอบเผด็จการ

จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารได้เผชิญหน้ากับภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้ง การทำสงครามกลางเมืองกับชนกลุ่มน้อย และความกังวลใจเกี่ยวกับการโจมตีทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงจึงเป็นการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงโดยรวมเพื่อการรักษาอำนาจของระบอบทหาร…

ในขณะเดียวกัน การย้ายเมืองหลวงยังมีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตอนใน เช่น การขยายพื้นที่ทางการเกษตรในเขตที่ราบภาคกลาง การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในเขตภูเขา และการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง โดยเมืองหลวงแห่งใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ตอนในซึ่งส่งผลให้รัฐบาลทหารมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

นอกจากนี้การย้ายเมืองหลวงยังถูกผลักดันด้วยปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อปรุงแต่งและเติมเต็มให้กระบวนการเคลื่อนย้ายเมืองหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์และชอบธรรมมากขึ้นตามโลกทรรศน์พม่า โดยกลุ่มผู้นำทหารได้ประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนักโบราณ หลักโหราศาสตร์ และลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก เพื่อสร้างความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์และเสริมภาพลักษณ์ของรัฐบาลในการเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงจาก ย่างกุ้ง ไป เพียงมะนา จึงประกอบด้วยปัจจัยหลากหลายมิติตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึกและรอบด้านอันส่งผลให้รัฐบาลทหารสามารถผ่องถ่ายอำนาจในการปกครองประเทศพม่าต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม :

หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “เพียงมะนา เนปิดอว์ ราชธานีแห่งใหม่ของสหภาพพม่า” เขียนโดย ผศ. ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 มีนาคม 2564

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์”

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่

– Website : https://www.silpa-mag.com

News Related
  • สู้ไม่ไหว! ByteDance ปิดบริษัทลูก Nuverse พร้อมปลดพนักงาน 1,000 คน

    Courtesy of ByteDance https://assets.beartai.com/uploads/speaker/post-1334883.mp3?cb=1701136108.mp3 สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวว่า ByteDance บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมอย่าง TikTok สั่งปลดพนักงานในแผนกเกมออกราว 1,000 คน พร้อมยกเลิกการพัฒนาเกมที่ยังไม่ได้เปิดตัวทั้งหมด และเตรียมขายเกมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้บริษัทอื่นด้วย แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ByteDance มองว่าธุรกิจเกมไม่ได้สำคัญมากนักและมีโอกาสที่จำกัดในการสร้างรายได้ บริษัทจึงเลือกที่จะทุ่มเทกับธุรกิจหลักมากกว่า เช่น TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่พ่วงมากับอีคอมเมิร์ซ ซึ่งกำลังประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งนี้ ByteDance เคยมีความทะเยอทะยานอย่างมากกับธุรกิจเกม และต้องการต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent Holdings บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อพิจารณาจากรายได้ โดย ByteDance ได้ลงทุนอย่างจริงจังในธุรกิจเกมมาตั้งแต่ปี 2016 และในระหว่างปี 2019 ถึงปี 2022 พวกเขาทุ่มเงินมากถึง 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 151,200 ล้านบาท เพื่อลงทุนในบริษัทเกมมากกว่า 19 แห่ง ความทะเยอทะยานของ ByteDance ค่อย ๆ ลดลงจากผลงานที่น่าผิดหวัง ...
    See Details: สู้ไม่ไหว! ByteDance ปิดบริษัทลูก Nuverse พร้อมปลดพนักงาน 1,000 คน
  • สุภโชคเยือนกิเลนฯ ! เจลีก เอเชีย ชาลเลนจ์ เผยโปรแกรมหวดทีมไทยลีก

    สุภโชค สารชาติ เจลีก ลีกฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้จัดการแข่งขัน เจลีก เอเชีย ชาลเลนจ์ 2023/24 ได้ประกาศโปรแกรมการแข่งขันในปีนี้ออกมาแล้ว สำหรับปีนี้จะใช้ชื่อเต็มว่า ไทยประกันชีวิต เจลีก เอเชีย ชาลเลนจ์ 2023/24 พาวเวอร์ดบาย เมจิ ยาสึดะ หลังได้ ไทยประกันชีวิต เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักอีกทั้งยังได้เซ็นข้อตกลงกับบริษัท นิคอน คอร์เปอเรชั่น ในฐานะ “บรอนซ์ พาร์ทเนอร์” ด้วย เจลีก เอเชีย ชาลเลนจ์ 2023/24 จะมี 4 ทีมเข้าร่วมการแข่งขันประกอบด้วย 2 ทีมไทยลีก เมืองทอง ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ส่วนทีมจากเจลีก ประกอบด้วย ฮอกไกโด คอนซาโดเล่ ซัปโปโร และ เซเรโซ ...
    See Details: สุภโชคเยือนกิเลนฯ ! เจลีก เอเชีย ชาลเลนจ์ เผยโปรแกรมหวดทีมไทยลีก
  • ครม.ไฟเขียว 5 จังหวัด เปิดสถานบริการในโรงแรมได้ถึงตี 4

    ภาพประกอบข่าว ครม. เคาะกฎกระทรวงขยายเวลาให้สถานบริการที่ตั้งในโรงแรมถูกกฎหมาย สถานบริการที่ตั้งใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และเกาะสมุย ได้ถึง 4.00 น. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 พ.ย. 2566 ได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่….) พ.ศ… ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ จะกำหนดให้สถานบริการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้เปิดให้บริการได้ถึงเวลา 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้นได้ ได้แก่ สถานบริการที่ตั้งที่อยู่ในสถานที่ตั้งโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม, สถานบริการที่ตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพประกอบข่าว สำหรับท้องที่อื่นที่ประสงค์จะให้สถานบริการเปิดทำการได้ถึง 4.00 ...
    See Details: ครม.ไฟเขียว 5 จังหวัด เปิดสถานบริการในโรงแรมได้ถึงตี 4
  • อิสราเอลต้อนรับการมาเยือนของ Elon Musk หารือการใช้เน็ต Starlink ในฉนวนกาซา

    Elon_Musk_Plan_City_Cover https://assets.beartai.com/uploads/speaker/post-1334745.mp3?cb=1701136565.mp3 วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน อิสราเอลได้ต้อนรับการมาเยือนของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ในระหว่างที่หยุดทำสงครามกับฮามาสเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในหลักการสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) ในฉนวนกาซา หลังจากมัสก์รับปากว่าจะให้การช่วยเหลือการเชื่อมต่อเน็ตในฉนวนกาซาผ่าน “องค์กรช่วยเหลือที่สากลยอมรับ” ในช่วงที่อิสราเอลเริ่มถล่มฉนวนกาซาอย่างหนักจนการสื่อสารถูกตัดขาดลง ช่วงบ่ายของวันจันทร์ ไอแซค เฮอร์ซอก (Isaac Herzog) ประธานาธิบดีของอิสราเอลมีกำหนดจะพูดคุยกับมัสก์ และพวกเขาจะเข้าร่วมพูดคุยกับญาติของตัวประกันที่ถูกกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาจับตัวไว้ เพื่อหาทางต่อสู้กับการต่อต้านชาวยิวที่เพิ่มขึ้นบนโลกออนไลน์ ในวันเดียวกัน เบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล มีกำหนดหารือกับมัสก์เกี่ยวกับความปลอดภัยของเอไอ และจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ หลังจากทั้งสองพึ่งพบกันล่าสุดในแคลิฟอร์เนียเมื่อ 18 กันยายน เกี่ยวกับการต่อต้านชาวยิวบนแพลตฟอร์ม X และหาจุดสมดุลของเสรีภาพในการแสดงออก ปลายเดือนตุลาคม ช่วงที่มัสก์เผยว่าจะมอบเน็ตสตาร์ลิงก์ให้ใช้งานในฉนวนกาซา ชโลโม คาร์ฮี (Shlomo Karhi) กสทช. ของอิสราเอลได้แสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่ากลุ่มฮามาสจะนำเน็ตไปใช้ในการก่อการร้าย แต่การพูดคุยล่าสุดเน็ตสตาร์ลิงก์จะถูกใช้ในอิสราเอลเฉพาะเมื่อได้รับอนุมัติจากกระทรวงคมนาคมของอิสราเอล ซึ่งรวมถึงในฉนวนกาซาด้วย ...
    See Details: อิสราเอลต้อนรับการมาเยือนของ Elon Musk หารือการใช้เน็ต Starlink ในฉนวนกาซา
  • 'ไบท์แดนซ์' จ่อยุบธุรกิจเกม หลังแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 'เทนเซ็นต์' ไม่สำเร็จ

    ‘ไบท์แดนซ์’ จ่อยุบธุรกิจเกม หลังแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก ‘เทนเซ็นต์’ ไม่สำเร็จ สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างอิงแหล่งข่าวเผยว่า ไบท์แดนซ์ บริษัทแม่ติ๊กต็อกวางแผนปลดพนักงานฝ่ายเกมมิงและยุบธุรกิจพัฒนาเกมที่เป็นหน้าเป็นหน้าของบริษัทอย่าง Nuverse ถือเป็นการถอนตัวออกจากอุตสาหกรรมเกมครั้งใหญ่ ยกชัยชนะให้กับคู่แข่งอย่างเทนเซ็นต์ทันที แหล่งข่าวระบุว่า ไบท์แดนซ์ เตรียมปลดพนักงานหลายร้อยคน รวมทั้งยุบหลายโครงการที่กำลังพัฒนาและฉุดศักยภาพยอดขายของธุรกิจที่มีอยู่ ตามที่รอยเตอร์เคยรายงานหน้านี้ บริษัทยังพิจารณาขายเซี่ยงไฮ้ มูนตัน เทคโนโลยี สตูดิโอพัฒนาวิดีโอเกมชั้นนำที่ซื้อมาด้วยมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์ (1.4 แสนบาท) เมื่อปี 2564 ด้วย การสร้างเกม ถือเป็นธุรกิจที่มีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก โดยนับตั้งแต่ปีก่อน ไบท์แดนซ์เริ่มปิดสตูดิโอของตนเองและปลอดพนักงานฝ่ายพัฒนาหลายคน หลังเปลี่ยนไปโฟกัสธุรกิจหลักอย่างติ๊กต็อก แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ๆ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเดือนนี้ก็ปลดพนักงานเกือบ 1 ใน 4 ของฝ่ายพิโค (Pico) ธุรกิจอุปกรณ์โลกเสมือน ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ภาคธุรกิจเกมในโทรศัพท์มือถือของจีน ประสบปัญหาฟื้นธุรกิจให้ถึงจุดสูงสุดเหมือนช่วงโควิด-19 ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชอละตัว ไบท์แดนซ์จึงค่อย ๆ ลดความทะเยอทะยานในอุตสาหกรรมเกม เมื่อไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากเทนเซ็นต์ได้ ในทางกลับกันผู้นำอุตสาหกรรมเกมอย่างเทนเซ็นต์ ยังคงรักษาการเติบโตของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เพราะได้รับแรงหนุนจากเครดิตผู้นำอุตสาหกรรม ...
    See Details: 'ไบท์แดนซ์' จ่อยุบธุรกิจเกม หลังแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 'เทนเซ็นต์' ไม่สำเร็จ
  • TISCO ESU ฟันธง! เศรษฐกิจโลกปี 67 ชะลอตัว ชี้ ‘พันธบัตรโลก’ สร้างผลตอบแทน 8-15% ดีกว่าหุ้น

    ภาพประกอบข่าว TISCO ESU ฟันธง! เศรษฐกิจโลกปี 67 ชะลอตัว ชี้ ‘พันธบัตรโลก’ สร้างผลตอบแทน 8-15% ดีกว่าหุ้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้เศรษฐกิจโลกปี 2567 จะโตแบบชะลอตัวเมื่อเทียบกับปี 2566 ผลจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดในรอบหลายทศวรรษ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยยังทรงตัวในระดับสูง แต่ไม่เลวร้ายถึงขั้น “เศรษฐกิจถดถอย”  แนะลงทุนพันธบัตรเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน 8-15% ช่วยกระจายความเสี่ยงและลดผลขาดทุนของพอร์ตโดยรวม นายธรรมรัตน์ กิตติสิริพัฒน์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) (Mr.Thammarat Kittisiripat, Head of Economic Unit, TISCO Economic Strategy Unit) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 จะชะลอตัวลง อันเป็นผลจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่จะส่งผลกดดันต่อกิจกรรมเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ทั้งกิจกรรมด้านบริการและภาคการผลิต นอกจากนี้ ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางต่างๆ และมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวลดลงอย่างช้าๆ ทำให้ TISCO ESU ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกในปี 2567 จะยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะธนาคารกลางจะต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวแต่ยังให้น้ำหนักไม่มาก ที่จะเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” โดยหากอ้างอิงจากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มองว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มที่ “พัฒนาแล้ว” จะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ...
    See Details: TISCO ESU ฟันธง! เศรษฐกิจโลกปี 67 ชะลอตัว ชี้ ‘พันธบัตรโลก’ สร้างผลตอบแทน 8-15% ดีกว่าหุ้น
  • “นฤมล” ถกผู้ส่งออก-นำเข้าปศุสัตว์ -บริษัทส่งออกผลไม้ หวังดันไทย-จีน

    นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์  ผู้แทนการค้าไทย หารือผู้แทนสมาคมผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย และตัวแทนบริษัทส่งออกผลไม้ไทย เพื่อร่วมมือผลักดันการส่งออกโคและผลไม้ไทยไปจีน ผู้แทนการค้ากล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า การส่งออกเดือน ต.ค.2566 มีมูลค่า 23,578.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% เป็นบวกต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน และสูงสุดในรอบ 13 เดือน นับจากเดือนก.ย.2565 ซึ่งการส่งออกที่เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 9.3% โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 12.3% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 5.9% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง อาหารสุนัขและแมว ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร ผักกระป๋องและผักแปรรูป ผู้แทนการค้ากล่าวว่า สินค้าเกษตรจึงเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย จากการหารือกับสมาคมผู้ส่งออกฯ ที่ผ่านมาประเทศไทยติดปัญหาการส่งออกโคมีชีวิตไปยังประเทศจีน ซึ่งต้องให้ผ่านการรับรองจาก ...
    See Details: “นฤมล” ถกผู้ส่งออก-นำเข้าปศุสัตว์ -บริษัทส่งออกผลไม้ หวังดันไทย-จีน
  • มองหลากมุม “นโยบายเงินช่วยให้เปล่า” กับ การกระตุ้นเศรษฐกิจ

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: มองหลากมุม “นโยบายเงินช่วยให้เปล่า” กับ การกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • กยศ. แจงปมนักศึกษาพยาบาลไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ยันคุณสมบัติครบได้ทุกคน

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: กยศ. แจงปมนักศึกษาพยาบาลไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ยันคุณสมบัติครบได้ทุกคน
  • น้ำผึ้ง ณัฐริกา สูญเสียครั้งใหญ่จนเป็นซึมเศร้า เคยไปดูศพเพื่อปลง (คลิป)

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: น้ำผึ้ง ณัฐริกา สูญเสียครั้งใหญ่จนเป็นซึมเศร้า เคยไปดูศพเพื่อปลง (คลิป)
  • เขินมาก”พัคมินยอง-คิมแจอุค”อวดโมเมนต์ชวนจิ้นผ่านไขหัวใจยัยแฟนเกิร์ล

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: เขินมาก”พัคมินยอง-คิมแจอุค”อวดโมเมนต์ชวนจิ้นผ่านไขหัวใจยัยแฟนเกิร์ล
  • กวาง ขายเรือนหอ 16 ล้านได้แล้ว ขอบคุณที่ให้บทเรียนดีๆ ‘น้ำหวาน’ โผล่เมนต์ลา

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: กวาง ขายเรือนหอ 16 ล้านได้แล้ว ขอบคุณที่ให้บทเรียนดีๆ ‘น้ำหวาน’ โผล่เมนต์ลา
  • SHARGE เปลี่ยนชื่อแบรนด์ ตอกย้ำเบอร์ 1 ธุรกิจ EV Charger ครบวงจร

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: SHARGE เปลี่ยนชื่อแบรนด์ ตอกย้ำเบอร์ 1 ธุรกิจ EV Charger ครบวงจร
  • สภาการพยาบาลออกประกาศ ห้ามให้ยาแก้ปวด Diclofenac ชนิดฉีด

    หากนึกย้อนไปในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกเจอผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุปสงค์หายไปอย่างกระทันหัน (Demand Shock) และเป็นต้นตอที่นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจอื่นตามมา จึงทำให้เราเห็นมาตรการการคลังและการเงินมากหน้าหลายตาถูกงัดออกมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจขนานใหญ่ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเม็ดเงินจากมาตรการสนับสนุนทางการคลัง (Fiscal Support) ที่ใช้ในปี 2020 รวมกันทั่วโลกอาจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 13% ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2009 ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปเพียง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 11% ของจีดีพี ณ ขณะนั้น “การอัดฉีดเงินเข้าภาคประชาชนโดยตรง” หรือ Helicopter Drop ก็เป็นหนึ่งในมาตรการยอดนิยมที่ 58 ประเทศทั่วโลกใช้ในวิกฤตระลอกล่าสุด ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าใจง่ายและตรงประเด็นกว่าเมื่อเทียบกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการซื้อสินทรัพย์ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องส่งผ่านตัวกลางใด ๆ จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมือทางการคลังอื่น โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความพร้อมด้าน Payment Ecosystem ที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงประเด็น อย่างไรก็ดี เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบดังกล่าวมักถูกใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตรุนแรงหรือช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายเป็นวงกว้างและนำไปสู่การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้หลาย ...
    See Details: สภาการพยาบาลออกประกาศ ห้ามให้ยาแก้ปวด Diclofenac ชนิดฉีด

OTHER NEWS

ถ้าไม่ไหวไปที่อื่น ! ไข่มุกหลงกล้อง-ทศกัณฐ์เดดแอร์ ศึกแข่งผู้ประกาศข่าวสุดเดือด!

ถ้าไม่ไหวไปที่อื่น ! ไข่มุกหลงกล้อง-ทศกัณฐ์เดดแอร์ ศึกแข่งผู้ประกาศข่าวสุดเดือด! รอบ Real Chance กับโจทย์ผู้ประกาศข่าวเที่ยงอมรินทร์ เดือดสุด !! เพราะเป็นรอบที่น้องๆ ทีมสีส้ม “ไข่มุก-ชาโอม-จอย” และทีมสีม่วง “ฟิว-ทศกัณฐ์-ปอนด์” ต้องมานั่งโต๊ะเป็นผู้ประกาศข่าวจริงๆ รอบ Real Chance กับโจทย์ผู้ประกาศข่าวเที่ยงอมรินทร์ ใน THE REAL NEXT GEN อมรินทร์เน็กซ์เจน Presented By est cola รายการเรียลลิตี้ ... Read more »

นายกฯ เผย ครม.เคาะขึ้นเงินเดือน ขรก.แล้ว รอฟังโฆษกแถลงได้เลย

ภาพประกอบข่าว นายกฯ เผย ครม.พิจารณาวาระขึ้นเงินเดือนแล้ว ให้โฆษก รบ.แถลง พร้อมเรียก รมต.เพื่อไทยถกต่อ เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 28 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์เพียงสั้นๆ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในวันนี้ที่ประชุม ครม.ได้มีการพิจารณาวาระการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมอบหมายให้โฆษกประจำสำนักนายกฯเป็นผู้แถลง ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ภายหลังนายกฯเป็นประธานการประชุม ครม.ชุดใหญ่แล้ว นายกฯได้เชิญรัฐมนตรีในส่วนของพรรคเพื่อไทย (พท.) ... Read more »

ศาลสั่งจำคุก 6 เดือน ‘เด่นนาโพธิ์’ ตะลึงว่าจ้างตัวเอง ‘ล้มมวย’!

ภาพประกอบข่าว ศาลสั่งจำคุก 6 เดือน ‘เด่นนาโพธิ์’ ตะลึงว่าจ้างตัวเอง ‘ล้มมวย’! จากรกรณีที่ เด่นนาโพธิ์ ส.ธัญญาลักษณ์ นักมวยไทย ขึ้นชกกับ ก้องนภา ศรีมงคล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 ที่เวทีมวยวัดบ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยการชกครั้งนี้ เด่นนาโพธิ์ แพ้น็อกไปอย่างกังขาในยกที่ 3 ทั้งที่ เด่นนาโพธิ์ เป็นฝ่ายฟันศอก ก้องนภา ... Read more »

พีพี วอนแฟนคลับไม่รุกล้ำเวลาส่วนตัว อยากเจอกันแบบสบายใจ

พีพี วอนแฟนคลับไม่รุกล้ำเวลาส่วนตัว อยากเจอกันแบบสบายใจ ก่อนแง้มข่าวดีกลางปีหน้า แม้ว่าก่อนหน้านี้ บริษัท PP Krit Entertainment ของศิลปินนักแสดงชื่อดัง พีพี กฤษฏ์ อำนวยเดชกร ได้ออกหนังสือชี้แจงมาตรการด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของศิลปิน หลังมีบุคคลบางกลุ่มพยายามละเมิดความเป็นส่วนตัว แต่ดูเหมือนว่ายังคงมีหลายคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎดังกล่าว จนเป็นเหตุให้คนใกล้ชิดต้องออกมาพูดเตือนสติเรื่องนี้อีกครั้งผ่านทางโซเชียล ล่าสุดเจอ พีพี ในงาน centralwOrld Light Up Christmas Tree Celebration ที่ ลานสแควร์A หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เจ้าตัวให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นนี้ว่า ... Read more »

สมยศ เผยเซ็นสัญญา"อิชิอิ"คุมบอลไทยระยะสั้นแค่ช่วงวาระชุดบริหารปัจจุบัน

สมยศ เผยเซ็นสัญญา”อิชิอิ”คุมบอลไทยระยะสั้นแค่ช่วงวาระชุดบริหารปัจจุบัน จากกรณี “มาดามแป้ง”นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชายทีมชาติไทย ประกาศอย่างเป็นทางการแยกทาง มาโน่ โพลกิ้ง จากหัวหน้าผู้ฝึกสอน หลังผลงานคัดบอลโลก 2 นัดแรกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยตั้ง มาซาทาดะ อิชิอิ โค้ชชาวญี่ปุ่น อดีตกุนซือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ แทนทันที ล่าสุด “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เผยว่าเรื่องการเลือกโค้ช เราให้เกียรติซึ่งกันและกัน มาดามแป้ง ... Read more »

ปุ้ย TPN อัปเดต มิสยูนิเวิร์ส 2023 หลังรัฐบาลนิการากัว สั่งห้ามเข้าประเทศ

หลังจากจบการประกวด Miss Universe 2023 แต่งานนี้ก็ยังมีเรื่องให้ ปุ้ย ปิยาภรณ์ หรือที่แฟนนางงามรู้จักในชื่อ ปุ้ย TPN ต้องมาชี้แจงหลายประเด็นที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องที่ Miss Universe คนล่าสุดเข้าประเทศไม่ได้ หรือประเด็นที่บริษัท TCG จะฟ้อง JKN ซึ่ง JKN เป็นบริษัทแม่ และ TPN เป็นบริษัทลูก จะโดนร่างแหไปด้วยหรือไม่ งานนี้เจ้าตัวก็ได้ตอบแบบเคลียร์ว่า “ข่าวที่ว่ามิสยูนิเวิร์สเขาเข้าประเทศไม่ได้น่ะเหรอ นี่ก็ได้คุยกับ ND ... Read more »

เจ้าหน้าที่คุมประพฤติซิ่งแจ๊ซเมาพุ่งชนคู่กรณีจนรถพลิกคว่ำ

เจ้าหน้าที่คุมประพฤติซิ่งแจ๊ซเมาพุ่งชนคู่กรณีจนรถพลิกคว่ำ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติซิ่งรถแจ๊ซเมาหนักเดินเซขึ้นรถตำรวจ หลังจากพยายามขับรถพุ่งชนคู่กรณีจนรถพลิกคว่ำ แถมไม่สลดในมือยังถือกระป๋องเบียร์ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 น. ตำรวจ สน.ท่าพระ รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถยนต์ เฉี่ยวชนกันจนเกิดพลิกคว่ำ บริเวณอุโมงค์ท่าพระ มุ่งหน้าจาก ถนน จรัญสนิทวงศ์ มุ่งหน้าถนน รัชดาท่าพระ จึงรีบรุดจัดกำลังพร้อมประสานอาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเร่งรัดตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณเชิงลาดขาลงทางลอดอุโมงข้ามแยกใต้แยกท่าพระ ทิศทางมุ่งหน้ามาจากถนนจรัญสนิทวงศ์ มุ่งหน้าไปทางถนน รัชดาท่าพระ แขวง วัดท่าพระ เขต บางกอกใหญ่ ... Read more »
Top List in the World