ร้อนแล้งทุบพืชเกษตรพัง ราคาแพง-ผลผลิตวูบ ยุติส่งออก

ร้อนแล้งทุบพืชเกษตรพัง ราคาแพง-ผลผลิตวูบ ยุติส่งออก

ภาพประกอบข่าว

ร้อนแล้งถล่มพืชผลทางการเกษตร เมษายนอุณหภูมิทะลุ 40 องศา อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก-กลางแห้งขอด พื้นที่อีสานหนักสุด อ่างเหลือน้ำน้อยกว่า 30% ชาวไร่ชาวสวนจันทบุรี-สระแก้วร้องผู้ว่าฯประกาศเขตภัยแล้ง หนักถึงขั้นต้องซื้อน้ำรดต้นทุเรียน-ลำไย มันสำปะหลัง-อ้อยตายยกไร่ มะพร้าวน้ำหอมไม่ติดลูกร่วงยกทะลาย ยางพาราตรังไม่รอดยืนต้นตาย ด้านกรมฝนหลวงปรับแผนตั้ง 11 หน่วยบินเติมน้ำในเขื่อนช่วยเกษตรกร

ร้อนแล้งทุบพืชเกษตรพัง ราคาแพง-ผลผลิตวูบ ยุติส่งออก

ภาพประกอบข่าว

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายอากาศทั่วไปในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ปรากฏบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่เป็นระยะ ๆ อุณหภูมิสูงที่สุด 43.0-44.5 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของทั้งภาคกลางและภาคตะวันออก

ส่งผลให้แหล่งเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กมีปริมาณน้ำลดลง แหล่งน้ำหลายแห่งถึงกับแห้งขอด เนื่องจากอัตราการระเหยของน้ำสูงมาก สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรทั้งในพื้นที่และนอกเขตชลประทาน

อ่างอีสานแห้งขอด

สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ได้รายงานปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 435 แห่งทั่วประเทศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม ปรากฏมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 2,090 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 42 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่เหลือน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ถึง 48 แห่ง

รองลงมาได้แก่ อ่างในภาคตะวันออก 18 แห่ง และภาคกลาง 15 แห่ง แต่หากรวมปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจะพบว่า มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 17,516 ล้าน ลบ.ม. หรือน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 2,280 ล้าน ลบ.ม.

ปริมาณน้ำใช้การได้จำนวนนี้จะต้องถูกใช้ไปถึงเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฝนตกหนักมากในฤดูฝนเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคมยังเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงสั้น ๆ ใน 2 สัปดาห์แรกของเดือนอีกด้วย ทำให้พืชผลทางการเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วง 1-3 เดือนนี้ประสบกับความเสียหาย เนื่องจากขาดแคลนน้ำและอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศสูงขึ้น

เอลนีโญกดดัน ศก.Q1/67เหนือ

นางพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ในช่วงไตรมาส 1/2567 ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับลดลงตามผลผลิตอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าวนาปรังที่ลดลง เนื่องจากมีปริมาณฝนและน้ำน้อยในช่วงเพาะปลูกจากภาวะเอลนีโญ ทำให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย

ส่วนด้านราคายังขยายตัวดี ทั้งราคาอ้อยโรงงานที่ปรับสูงขึ้นตามราคาอ้อยขั้นต้น และราคาข้าวเปลือกขยายตัวดีต่อเนื่อง ตามอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยรายได้เกษตรกรหดตัวเหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.3 เทียบกับไตรมาส 4/2566 อยู่ที่ร้อยละ 7.2

มะพร้าวขาดคอ

ว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ พึ่งพเดช เจ้าของสวนเดี่ยว บ้านแพ้ว ในฐานะประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพิทักษ์สาคร ซึ่งรวบรวมสมาชิกในชุมชนจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมยกกระบัตร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้ร้อนแล้งผิดปกติ เริ่มตั้นแต่เดือนมกราคมและหนักสุดในเดือนพฤษภาคม 2567

ทำให้สมาชิกในกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมยกกระบัตร ที่มีจำนวน 35 คน รวมพื้นที่สวนมะพร้าวทั้งหมด 400 ไร่ ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากผลผลิตมะพร้าวที่เคยเก็บได้ 100% ปัจจุบันเหลือเพียง 5% เนื่องจากปัญหามะพร้าวที่กำลังออกช่อดอกหรือจั่นมะพร้าว 1-3 เดือนเกิดขั้วแห้ง ทำให้ผลร่วงหลุดออกจากทะลาย หรือเรียกว่า “มะพร้าวขาดคอ” หนักที่สุดในรอบ 10 ปี ทำให้ตอนนี้มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว ราคาขายหน้าสวน ณ วันที่ 3 พ.ค. 67 ขึ้นไป 37-38 บาทต่อลูก

“ในช่วงที่สภาพอากาศปกติ มะพร้าวจะออกประมาณ 10 ลูกต่อทะลาย แต่ตอนนี้เหลือเพียง 2-5 ลูกต่อทะลาย หรือจาก 1,000 ลูก เหลือเพียง 100 กว่าลูก รายได้ปกติ 30,000-40,000 บาท ลดลงเหลือเพียง 3,000-4,000 บาท ประมาณ 5% ต่อไร่เท่านั้น

แต่ที่หนักสุดบางสวนเก็บมะพร้าวได้แค่ 20 ลูก ในพื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งลดลงจากช่วงปกติที่เก็บได้ 2,000-3,000 ลูก ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มขึ้นด้วย จากเดิมต้นทุน 5 บาท/ลูก ตอนนี้พุ่งสูงถึง 7 บาท/ลูก ส่วนราคาขายหน้าสวนปกติลูกละ 10 บาท ซึ่งสวนทางกับผลผลิตที่น้อยลง ในเมื่อมีมะพร้าวไม่พอต่อการตัดรอบ ทำให้เกษตรกรต้องเอาทุนเก่ามาใช้ อีกทั้งต้องลงทุนดูแลผลผลิต รดน้ำเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมมะพร้าว 1 ต้น รดน้ำ 2-3 วัน ตอนนี้ต้องเปลี่ยนมารดน้ำวันเว้นวัน หรือทุกวัน” ว่าที่ร้อยตรีพิทักษ์กล่าว

ชะลอส่งออกมะพร้าว

นายณธกฤษ เอี่ยมสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่ของไทยกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปกติช่วงไตรมาส 2 ของทุกปีเข้าสู่ฤดูร้อนมะพร้าวจะออกผลผลิตน้อย ยิ่งปีนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาแล้งมากกว่าทุกปี ทำให้สวนมะพร้าวหลายแห่งในเขตราชบุรีและนครปฐมประสบปัญหาผลผลิตออกน้อยกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา

ส่งผลให้ราคาต้นทุนของมะพร้าวสูงขึ้นมาก กระทบมายังผู้ส่งออกต้องรับภาระต้นทุนที่แพงขึ้น แต่เนื่องจากมะพร้าวสดส่งออกในตลาดปลายทางถือเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง เมื่อราคามะพร้าวแพงทำให้ผู้บริโภคหันไปดื่มเครื่องดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูปแทน ทำให้ช่วงนี้บริษัทชะลอปริมาณการส่งออกมะพร้าวลงในช่วงไตรมาสสองนี้ เพราะไม่มีสินค้าและราคาสูงเกินผู้บริโภครับได้

“ถ้าแพงเกินกว่าตลาดจะรับได้ การสั่งซื้อก็จะลดลง ซึ่งจะสะท้อนกลับมาที่ต้นทาง ทำให้ราคาไม่ขยับขึ้นไปมากกว่าที่ตลาดจะรับได้” นายณธกฤษกล่าว

ขอผู้ว่าฯประกาศเขตภัยแล้ง

ด้านนายณรงค์สิชญ์ สุทธาทิพย์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำขณะนี้เกิดขึ้นทุกอำเภอใน จ.จันทบุรี เจ้าของสวนรายใหญ่พอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ชาวสวนรายเล็ก ๆ ไม่มีเงินทุนที่จะซื้อน้ำ ต้องรีบช่วยเหลือ ทาง อบต.ท้องถิ่นมีงบประมาณช่วยเหลือ 300,000 บาท “ก็ใช้กันหมดแล้ว” ตอนนี้ทุเรียนหมอนทองอายุ 98 วัน แก่ตัดได้แล้ว ราคาอยู่ที่ 160-165 บาท ถ้าไม่มีน้ำคือต้องสูญเสียรายได้ไป และหากฝนไม่ตกลงมาอีก ทุเรียนก็ต้องทิ้งต้นตาย

จากการพูดคุยมีหน่วยงานทหารใน จ.จันทบุรี พร้อมที่จะนำรถมาช่วยบรรทุกน้ำ ชาวสวนยินดีช่วยค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ที่พัก เพียงถ้าจังหวัดมีประกาศภัยแล้งในพื้นที่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ตนเองได้ปรึกษากับนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จ.จันทบุรี ทำหนังสือขอ ผวจ.จันทบุรี ประกาศภัยแล้งทั้งจังหวัดให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยเหลือผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของจันทบุรี กว่า 70,000 ล้านบาท

นายปัญญา ประดิษฐ์สาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ผลผลิตทุเรียนเสียหายทั้งคุณภาพและปริมาณ การเก็บเกี่ยวเร็วขึ้นทำให้ผลพัฒนาการไม่เต็มที่ น้ำหนักผลลดลง บางสวนผลผลิตแตกทั้งที่อายุไม่ถึงการเก็บเกี่ยว หนักสุดผลเล็กหลุดร่วง และต้นตาย ชาวสวนต้องดูแลเรื่องน้ำให้พออยู่ได้ อาจจะต้องตัดลูกทิ้งเพื่อรักษาต้นไว้

สอดคล้องกับ นายไวกูณฐ์ เทียนทอง เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ชาวสวนทุเรียน จ.จันทบุรี ในพื้นที่นอกเขตชลประทานต่างประสบภาวะภัยแล้ง มีการซื้อน้ำรดทุเรียนจำนวนมากทุกอำเภอ โดยเฉพาะใน อ.เขาคิชฌกูฏ อ.สอยดาว อ.โป่งน้ำร้อน และ อ.ท่าใหม่บางตำบล

เนื่องจากปัญหาฝนทิ้งช่วงยาวตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ความร้อนจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตทุเรียนออกมาไม่ดีนัก ทั้งรุ่น 1 ที่ออกไปแล้ว และรุ่นที่ 2 ที่จะออกช่วงวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ซึ่งถือเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมากที่สุด (Peak) หรือเร็วกว่าที่คาดการณ์เดิมว่า ผลผลิตทุเรียนจะพีกช่วงวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ซึ่งทุเรียนตัดกันในช่วงก่อนและหมดรุ่นใหญ่จะมีทุเรียนขาดน้ำ ตัดหนีน้ำปะปนมาจำนวนมาก

“ชาวสวนต้องรีบตัด ถ้าทุเรียนแก่ เพราะภาระค่าใช้จ่ายสูงทั้งค่ารถบรรทุกน้ำขนาด 15,000-20,000 ลิตร เที่ยวละ 1,500-2,000 บาท ต้องติดตั้งไฟฟ้าเป็น 2-3 เฟส ให้ทำงานได้เต็มที่ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จาก 2,000-3,000บาท เป็น 10,000 บาทเศษ การเชื่อมท่อต่อจากแหล่งน้ำระยะทาง 1-2 กม. ตอนนี้ปริมาณทุเรียนน้อยลง ส่งผลให้ราคาพันธุ์หมอนทอง เกรด AB ขยับขึ้นจาก 145-150 บาท/กก. เป็น 155-165 บาท/กก. และเชื่อว่าหลังวันที่ 10 พ.ค. 67 ปริมาณผลผลิตทุเรียนเริ่มเหลือน้อยลง ราคาน่าจะปรับสูงขึ้น” นายไวกูณฐ์กล่าว

พืชไร่สระแก้วเสียหายหนัก

นายบุญเรือง สีขาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า พืชไร่ประสบปัญหามาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเริ่มปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ที่ต้องการน้ำฝน เมื่อฝนไม่ตก-ทิ้งช่วงนาน ชาวไร่ปลูกอ้อยกับมันสำปะหลังไปแล้ว “แต่ฝนไม่ตก” ทำให้พืชไร่ตายหรือไม่เติบโต ต้องไถกลบและปลูกใหม่ ชาวไร่อ้อย-มันสำปะหลัง ส่วนใหญ่จะมีโรงงานมาปล่อยเงินกู้ ซื้อปุ๋ย และให้กิ่งพันธุ์ตามโควตา

อ้อยเมื่อปลูกไม่ได้ กิ่งพันธุ์เสียหาย ต้องไปหากิ่งพันธุ์จากต่างจังหวัดมาปลูกใหม่เอง ยกร่องปลูกใหม่ ทำให้ยุ่งยากสิ้นเปลืองเงินทุนมากขึ้น ส่วนมันสำปะหลังไปซื้อมาข้ามจังหวัดต้องผ่านขั้นตอนการตรวจจากด่านตรวจพืชเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นายศิริไพบูลย์ วัฒณวงศ์ชัย รักษาการนายกสมาคมลำไยและไม้ผล จ.สระแก้ว กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งสวนลำไยเดือดร้อน ในช่วงนี้ลำไยราดสารต้องการน้ำ “แต่ไม่มีน้ำให้ลด ฝนก็ไม่ตก” ปกติทุกปีจะมีพ่อค้าเข้ามาทำสัญญารับซื้อ แต่ตอนนี้ไม่มีพ่อค้ากล้าเข้ามาทำสัญญารับซื้อลำไยล่วงหน้าเหมือนทุกปี เกษตรกรไม่มีเงินมัดจำเป็นทุนไปราดสารทำใบ ทำดอก ดังนั้น จังหวัดสระแก้วควรประกาศเขตภัยแล้ง เพื่อให้มีงบประมาณมาช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก

ลำไย-ทุเรียนชุมพรต้องซื้อรถน้ำ

นายดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จ.ชุมพร กล่าวว่า ภาคใต้มีปัญหาภัยแล้งขาดน้ำ ส่งผลต่อผลผลิตทุเรียนภาคใต้เช่นเดียวกับทุเรียนภาคตะวันออก แปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 2, 13, 16 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ตอนนี้แล้งหนัก ต้องซื้อน้ำรด

โดยรถบรรทุกขนาด 20,000 ลิตร ราคาน้ำเที่ยวละ 1,500 บาท และต่อท่อยาว 1-2 กม.เพื่อดูดน้ำ หวังรอพายุฤดูร้อนที่จะมากลางเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมากรมฝนหลวงฯได้เข้ามาทำฝนเทียมไปแล้ว แต่ความชื้นไม่พอ ฝนไม่ตก ตอนนี้บางแปลงขาดน้ำ ลำไยถึงกับยืนต้นตาย

ส่วนทุเรียนขาดน้ำแล้วมาเจอฝนหนัก เมื่อลูกกินน้ำเยอะจะหลุดร่วงทันที เมื่อลูกร่วงหมดจะแตกยอดอ่อน คาดว่า จ.ชุมพร ปี 2567 ปริมาณผลผลิตทุเรียนจะลดลงจากคาดการณ์ไว้ 305,072 ตัน เหลือแค่ 270,000 ตัน ใกล้เคียงกับปี 2566 โดยผลผลิตจะกระจายออก 3 รุ่น และกำหนดวันเก็บเกี่ยววันที่ 15 มิถุนายนนี้

ตรัง “ยางพารา” ยืนต้นตาย

นายเรืองชัย สมบัติทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ลงพื้นที่สำรวจสวนยางพาราที่ประสบปัญหาภัยแล้งของ นางสาวสุมิตตรา วิเชียร เกษตรกรในพื้นที่หมู่ 3 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพารา 8-2-0 ไร่ มีอายุ 2 ปี ได้รับความเสียหาย ยางพารายืนต้นตายจำนวน 40 ต้น

รายงานข่าวจากสำนักงานเกษตรจังหวัดตรังแจ้งว่า มี 8 อำเภอ 33 ตำบล 126 หมู่บ้าน ประสพภัยแล้งทั้งหมด ได้แก่ อำเภอสิเกา, อำเภอนาโยง, อำเภอเมืองตรัง และอำเภอห้วยยอด

แล้งลุกลามภูเก็ต

ส่วนนางณัฐริกา ส่งศรีบุญสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมหารือติดตามเฝ้าระวังภัยแล้งด้านการเกษตรจังหวัดภูเก็ต ที่ประชุมรายงานสถานการณ์เฝ้าระวังพื้นที่การทำเกษตร มีการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของจังหวัดภูเก็ต

ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2567 พืชที่ได้รับผลกระทบเป็นไม้ผล ประกอบด้วย ทุเรียน 2,688 ไร่ มีความเสี่ยงน้อย 513 ไร่ ความเสี่ยงปานกลาง 1,095 ไร่ มีความเสี่ยงสูง 74 ไร่, มังคุด 448 ไร่ มีความเสี่ยงน้อย 71 ไร่ ความเสี่ยงปานกลาง 162 ไร่ และความเสี่ยงสูง 6 ไร่, เงาะ 385 ไร่ เสี่ยงน้อย 68ไร่ เสี่ยงปานกลาง 189 ไร่ เสี่ยงสูง 6 ไร่, ลองกอง 568 ไร่ เสี่ยงน้อย 159 ไร่ เสี่ยงปานกลาง 125 ไร่ และเสี่ยงสูง 6 ไร่, ลำไย 11 ไร่ เสี่ยงน้อย 8 ไร่ เสี่ยงปานกลาง 3 ไร่ และยังไม่พบเสี่ยงสูง

ตั้ง 11 หน่วยบินฝนหลวง

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ได้มีการปรับแผนตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำเดือนพฤษภาคม 2567 เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรง โดยมีภารกิจหลักคือการปฏิบัติการทำฝนบรรเทาภัยแล้ง การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ การยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บและภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า

โดยในเดือนพฤษภาคม 2567 ได้สั่งการให้ตั้ง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั้งสิ้น 11 หน่วย ได้แก่ หน่วยจังหวัดเชียงใหม่ โดยเครื่องบิน CASA 2 ลำ Alpha Jet (ทอ.) 1 ลำ, หน่วยจังหวัดแพร่ โดยเครื่องบิน CASA 2 ลำ, หน่วยจังหวัดลพบุรี โดยเครื่องบิน CASA 2 ลำ, หน่วยจังหวัดกาญจนบุรี โดยเครื่องบิน CARAVAN 3 ลำ,

หน่วยจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเครื่อง BT (ทอ.) 1 ลำ และ CN 1 ลำ, หน่วยจังหวัดกระบี่ โดยเครื่องบิน CASA 2 ลำ, หน่วยจังหวัดพิษณุโลก โดยเครื่องบิน SKA 1 ลำ, หน่วยจังหวัดอุดรธานี โดย Alpha Jet (ทอ.) 1 ลำ และเครื่องบิน CASA 2 ลำ, หน่วยจังหวัดนครราชสีมา โดยเครื่องบิน CN 1 ลำ CARAVAN 2 ลำ และ AU-23 (ทอ.) 2 ลำ, หน่วยจังหวัดจันทบุรี โดยเครื่องบิน CARAVAN 4 ลำ และหน่วยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเครื่องบิน CARAVAN 3 ลำ

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ร้อนแล้งทุบพืชเกษตรพัง ราคาแพง-ผลผลิตวูบ ยุติส่งออก

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่

– Website : https://www.prachachat.net

OTHER NEWS

12 minutes ago

Ship that hit Baltimore bridge moves back to port

12 minutes ago

My GP didn't understand my symptoms until I came back with my own research

12 minutes ago

Recall of Popular Candy Expanded Due to Salmonella Risk

12 minutes ago

Russia Recruits Ethnic Germans for Ukraine War

12 minutes ago

In Manoj Tiwari’s rally, BJP trains guns at Congress, AAP

12 minutes ago

Labour MP Dawn Butler withdraws from Hay festival in sponsorship row

13 minutes ago

Warrington Wolves: Sam Burgess & George Williams wax lyrical about overseas star following Challenge Cup semi-final triumph

13 minutes ago

How does French Open affect Olympic qualification?

13 minutes ago

Ukraine power company appeals for British help after Russia wipes out coal plants

13 minutes ago

Hamas and Israeli leaders may face international arrest warrants. Here’s what that means

13 minutes ago

NATO Countries Begin Training Ukrainian Soldiers on Home Soil

13 minutes ago

Iconic 00s rock band with catchy hit song announce first UK tour in 15 years

13 minutes ago

Vince Vaughn Is Your New Quirky Detective

13 minutes ago

Russia accuses Ukraine of using US and French missiles in an attack on one of its border regions

13 minutes ago

Judge Merchan Makes 'Smart Move' in Donald Trump Trial: Legal Analyst

15 minutes ago

Houston cancer survivor raising awareness, money for leukemia research

15 minutes ago

Loose metal pieces found in Pedigree dog food, 315 bags recalled

16 minutes ago

OpenAI pauses voice that many compared to Scarlett Johannson’s

16 minutes ago

As student loan forgiveness nears $160 billion, here's what to know about the relief programs

17 minutes ago

UK 'goes continental' for its cheese: How Brits are turning to gourmet and specialty cheeses from Europe - with sales of Triple Crème Brie nearly double in a year while demand for Morbier and Comté also soars

18 minutes ago

Video: SEE IT: Beth Van Duyne checks out fit Rep. Rich McCormick's backside in boldly flirtatious moment 11 MONTHS before relationship exposed

18 minutes ago

How Jurgen Klopp 'took a leaf out of Sir Alex Ferguson's book' with emotional farewell speech: Outgoing Liverpool manager draws parallels with Fergie from 11 years ago

18 minutes ago

Stylists reveal the traditional rules that fashion fans should IGNORE - as experts explain which sartorial guidelines are now outdated

18 minutes ago

Heidi Klum stuns as she arrives back into Nice airport donning a black satin ensemble and leather jacket for Cannes Film Festival 'round two'

18 minutes ago

Xander Schauffele's wife reveals she was 'blacking out' during emotional PGA Championship win

18 minutes ago

Mohammed Ali Ahmad-Rezaei: Iranian refugee repeatedly raped a woman in front of her children learns his fate

18 minutes ago

Xander Schauffele will NOT join LIV Golf 'even if you throw hundreds of millions of dollars at him', his dad claims after first major win at PGA Championship: 'He is about legacy'

18 minutes ago

Liverpool finally CONFIRM Arne Slot will succeed Jurgen Klopp as their new manager... with the departing Feyenoord boss to officially start work next week on a three-year deal

19 minutes ago

Joe Biden was racist and patronizing in his speech to Morehouse grads

19 minutes ago

It’s time to stop the unfair, unequal madness of trans athletes destroying women’s sports

19 minutes ago

Half of Americans think climate change will destroy planet in their lifetime: poll

19 minutes ago

Prosecutions will have to wait despite so many facing criticism in blood scandal report

19 minutes ago

This energy stock and other plays are set to jump the most over the next month, according to an AI model

19 minutes ago

What to choose: A gas heater or an electric heater?

20 minutes ago

SNP polling bombshell as YouGov records lowest support for a decade as Labour soars

20 minutes ago

Texas sweats under record-breaking heat wave after flooding and storms

20 minutes ago

Super Rugby Pacific Team of the Week: All Blacks duo and Wallabies hard man lead the way

20 minutes ago

Rudy Gobert fires back at Charles Barkley after Game 7 win

20 minutes ago

New, electricity-free desalination method shows promise

20 minutes ago

WNBA and LSU women's basketball legend Seimone Augustus joins Kim Mulkey's coaching staff

Kênh khám phá trải nghiệm của giới trẻ, thế giới du lịch